ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 28-07-2009, 13:23
โอรส's Avatar
โอรส โอรส is offline
นายทะเบียน - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Mar 2009
ข้อความ: 897
ได้ให้อนุโมทนา: 37,411
ได้รับอนุโมทนา 206,467 ครั้ง ใน 3,180 โพสต์
โอรส is on a distinguished road
Default

อีกอย่างหนึ่งที่ปฏิบัติไปแล้วไม่ก้าวหน้าก็คือ บางทีจะเน้นแต่สมาธิอย่างเดียว ตัวสมาธิกับตัวปัญญาเหมือนกับคนที่ผูกขา ๒ ข้างด้วยโซ่เส้นหนึ่ง ถ้าหากว่าสมาธิไปแล้วปัญญาไม่ตาม ก็เหมือนกับเดินไปสุดแล้วโซ่ก็กระตุกกลับ ดังนั้น...เมื่อภาวนาจนอารมณ์เต็มแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเต็มที่ ก็คือถึงจุดสูงสุดที่ไปต่อไม่ได้ แล้วอารมณ์จะคลายออกมา ตอนอารมณ์คลายออกมานี่สำคัญที่สุด ถ้าหากว่าเราไม่บังคับให้คิดในสิ่งที่ดี ๆ จิตก็จะคิดไปในทาง รัก โลภ โกรธ หลง พาเราฟุ้งซ่านไปเลย เพราะฉะนั้น...เมื่อจิตถอยออกมาก็ให้เราคิดในวิปัสสนาญาณ คือให้คิดพิจารณาให้เห็นในความเป็นจริง ว่าสภาพร่างกายก็ดี โลกเราก็ดี ประกอบไปด้วย ไตรลักษณ์ คือความเป็นจริง ๓ อย่างว่า ๑. ไม่เที่ยง ๒. เป็นทุกข์ ๓. ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนของเราได้

หรือไม่ก็พิจารณาตามแนวอริยสัจ อริยสัจนี่จับแค่ทุกข์กับเหตุของการเกิดทุกข์เท่านั้น ถ้าเรารู้ว่าทุกข์เกิดจากอะไรแล้วไม่สร้างเหตุนั้นทุกข์ก็ดับ ถ้าทุกข์ดับให้เรียกว่านิโรธ ระหว่างที่เราปฏิบัติเขาเรียกว่ามรรค คือหนทางเข้าถึงการดับทุกข์ เพราะฉะนั้น...เราจับแค่ทุกข์กับสมุทัย ๒ ตัวเท่านั้นก็พอ

หรือไม่ก็พิจารณาตามแบบของวิปัสสนาญาณ ๙ คือ พิจารณาให้เห็นอย่างเช่น อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นการเกิดแล้วดับ ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นว่าทุกอย่างดับหมด ภยตูปัฏฐานญาณ พิจารณาให้เห็นว่าร่างกายนี้เป็นโทษเป็นภัยเป็นของน่ากลัว จนกระทั่งไปถึงสังขารุเปกขาญาณ คือการปล่อยวางในสังขารทั้งปวง และสัจจานุโลมิกญาณ คือพิจารณาย้อนต้นทวนปลาย ทวนปลายย้อนต้นกลับไปกลับมาให้พิจารณาอยู่ในลักษณะนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-12-2016 เมื่อ 03:02 เหตุผล: แก้ ด้วย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 67 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ โอรส ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา