ดูแบบคำตอบเดียว
  #12  
เก่า 02-08-2009, 03:52
สายท่าขนุน สายท่าขนุน is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 759
ได้ให้อนุโมทนา: 160,001
ได้รับอนุโมทนา 133,088 ครั้ง ใน 5,305 โพสต์
สายท่าขนุน is on a distinguished road
Wink ท่านอิคยุ (หน้า ๒)

เรื่องที่เล่าต่ออีกในกาลเวลาระยะหลัง ตอนใกล้สิ้นอายุขัยของหลวงพ่อผู้เฒ่าว่า
ครั้งนั้น ขณะที่หลวงพ่อสำรวมจิตจวนจะทำกาลกิริยาอยู่นั้น
ท่านอาจารย์ใหญ่อิคยุก็คลานเข้าไปกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า
กระผมต้องบอกหนทางให้หลวงพ่อไหมครับ!

หลวงพ่อยังมีสติดีอยู่ ตอบแผ่ว ๆ ว่า
“ฉันมาก็มาแต่ลำพังผู้เดียว เวลาจะไปก็ไปแต่ลำพังผู้เดียว เจ้าจะมาช่วยอะไรได้เล่า!”

พอดีท่านอาจารย์อิคยุก็ตอบขึ้นด้วยถ้อยคำว่า
“หากหลวงพ่อนึกว่าหลวงพ่อเกิด, แล้วหลวงพ่อต้องตายจริง ๆ แล้ว
นั่นยังถูกบดบังห่อหุ้มด้วยความไม่รู้อยู่อีกนะครับ!

ถ้าอย่างนั้นผมจะบอกทางให้หลวงพ่อละ!
ทางที่ไม่ต้องเรียกว่าเกิด ไม่ต้องเรียกว่าตาย อย่างไรเล่าครับหลวงพ่อ!”

พอสิ้นประโยคถ้อยคำสำคัญยิ่งของลูกศิษย์ หลวงพ่อก็พริ้มดับ นิทานก็จบ

จากเรื่องราวที่เล่ามานี้ เราท่านย่อมทราบแล้วว่านิทานเรื่องนี้ทั้งหมด
มันมาขมวดปมคมคายที่คำบอกหนทางให้แก่คนใกล้จะตายนิดเดียว
แต่ถึงกระนั้นก็ถือว่าเป็นคำพูดที่มีค่าแท้จริงสำหรับอาจารย์ผู้เฒ่าผู้จะลาลับโลกไป

ถ้อยคำที่พูดให้ถูกกาละไม่กี่คำ ในสภาพการณ์นั้น ๆ ต่อบุคคลนั้น ๆ ขณะฉับพลันนั้น ๆ
ย่อมไม่อาจเกิดผลแก่คนอื่น ที่อยู่ในสภาพอื่น เวลาอื่น

แต่ก็เป็นข้อความที่น่าสนใจ ฟังไว้บางทีจะเกิดประโยชน์

อย่างน้อยก็เพียงรู้ว่ามันลึกก็ยังดี ที่จะลึกไปแค่ไหนนั้น
เราควรมาวิเคราะห์กันตามแต่กำลังความคิดเห็น...
ที่ศิษย์เสนอตัวเข้าไปถามหลวงพ่อ ทำนองหยั่งความรู้ในขณะท่านใกล้จะตายเสียก่อนนั้น
เป็นวิธีทั่ว ๆ ไปของอาจารย์เซ็น เพราะคนเราระยะหนึ่ง ๆ มิได้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงสิ่งเดียวเป็นอารมณ์

ศิษย์จึงถามนำเพื่อหยั่งสภาวะจิตดูก่อนว่า...
“กระผมต้องบอกหนทางให้ไหมครับ หลวงพ่อ?”
พอหลวงพ่อตอบมา จึงเหมือนกับทำให้ศิษย์รู้ว่า
หลวงพ่อกำลังคิดนึกรู้สึกต่อสิ่งทั้งปวงในขณะใกล้จะตายว่าอย่างไร
(เมื่อรู้ภาวการณ์แล้ว ศิษย์ก็เริ่มบอกทางเอาจริง ๆ แต่บอกแบบทันควัน
ถ้าฟังเผิน ๆ ก็เหมือนโต้ตอบธรรมดา หรือไม่เป็นการสอนชี้บอกแต่อย่างไร)

หลวงพ่อตอบออกมาว่า
“ฉันมาก็มาแต่ตัว ขาไปก็จะไปแต่ตัว จะให้ใครมาช่วยได้”
คำพูดอย่างนี้ตรงกับความรู้ธรรมะที่สอน ๆ สวด ๆ กัน สำหรับเหล่าชาววัด
ใครก็ถือว่าเป็นวิธีบริกรรม คราวพยายามจะปลงทุกสิ่งทุกอย่าง
แม้ฝ่ายเถรวาทในเมืองไทยเราก็สอนกันอยู่ทั่วไป
คือสอนมิให้เป็นห่วงเป็นใยจนเป็นเรื่องรบกวนต่อการตั้งสมาธิจิตเวลาใกล้จะตาย

ส่วนพวกพุทธศาสนาอย่างเซ็นนั้น เขายังถือว่าขณะดับจิตถ้ายังมีตัวตน
สำหรับจะมาตั้งปรารถนาใคร่จะปลงว่า ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของกูนั้น
ยังไม่พอ ยังไม่ถึงขั้นปลอดภัย
ท่านอาจารย์อิคยุจึงรู้ว่าภายในดวงความคิดของหลวงพ่อผู้เฒ่า
ขณะนั้น ยังมีตัวตนที่ได้เกิดมา มีตัวที่พยายามจะปลงเมื่อตนเองต้องตาย

ฉะนั้นท่านจึงฟื้นพลิกความรู้สึกริบหรี่ของหลวงพ่อ ให้จับเหง้าแห่งความรู้สึกเสียใหม่
คือ หนทางอีกลักษณะหนึ่ง โดยเตือนว่า ไม่ใช่ทางที่มีคนเกิดมา
มีคนกำลังเดินอยู่และกำลังจะไป
แต่เป็นทางที่ไม่ถือว่ามีการเกิดและ แน่ละ ถ้าไม่มีการเกิดก็ไม่ต้องมีการตาย
คือ ตายเสียก่อนแล้ว ก่อนที่มันจะดับจิตตายไป

เมื่อหลวงพ่อถอนความรู้สึกภายในเสียทัน สับหัวประแจเข้ารางใหม่
เรื่องมันก็เป็นอันเสร็จกิจ ภาระจะต้องพะวงอะไรมิได้มีด้วยประการฉะนี้

ดูเอาเถิดท่านทั้งหลาย ข้อความเป็นไปในนิทานนี้ เขาชี้นิดเดียว
ตรงความหมายอันสำคัญยิ่งคือที่ว่า ให้ตายเสียก่อนตาย
ซึ่งนิทานนี้คงจะให้ความกระจ่างมากอยู่

คือ ตาย คำแรกหมายถึงดับความรู้สึกส่วนลึกประจำใจที่ว่าเรานั้น
(ซึ่งอาจเรียกชื่อว่า “ว่างจากตัวตน” หรือใช้คำพูดว่ามีสุญตาเป็นอารมณ์ของจิต)
ก่อนที่จิตจะดับวุบไปเป็นครั้งสุดท้ายก็ได้

ด้วยอาการหลุดพ้นไม่ต้องกลับมาเกิด มีภพมีชาติอีก ของคนที่ทำได้เช่นนี้
ก็คือพระอรหันต์ประเภทชีวิตสมสีสี นั่นเอง

จาก หนังสือ เล่านิทานเซ็น
เล่าเรื่องโดย อ.อภิปัญโญ
เผยแพร่โดย ธรรมสภา
__________________
การรักษากำลังใจสำคัญที่สุด...ได้ดีอย่าฟู แล้วขณะเดียวกันว่า ถ้าได้ร้ายก็อย่าฟุบ ให้เห็นว่ามันเป็นปกติของมัน เรื่องของมัน
ถ้ามันดีมาพออาศัยได้ก็ดีกับมันไป ถ้าหากว่ามันไม่ดีมา เราอยู่กับมันก็ให้รู้อยู่มีสติอยู่ ถึงเวลาก็ต่างคนต่างไปอยู่แล้ว...
กำลังใจของเราพลาดแม้แค่วินาทีเดียวนี่ อาจจะหมายถึงแพ้ทั้งกระดาน

อะไรมันก็ไม่เจ็บปวดเท่ากับต้องเกิดใหม่ มันเป็นทุกข์ เป็นโทษสุด ๆ จริง ๆ
กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๕๑
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 90 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ สายท่าขนุน ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา