ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 27-09-2016, 09:57
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,507
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,899 ครั้ง ใน 34,096 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๙

ทุกคนขยับในท่าที่สบายของตน ตั้งกายให้ตรง กำหนดสติไว้ที่ลมหายเข้าออกของเรา หายใจเข้า...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก...ให้ความรู้สึกทั้งหมดไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ที่เราถนัดมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ในการปฏิบัติกรรมฐานของเรานั้น อานาปานสติก็คือลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เป็นพื้นฐานใหญ่ที่สุดของกรรมฐานทั้งหมด

อานาปานสติทำให้สมาธิของเราทรงตัวแนบแน่นเป็นอัปปนาสมาธิได้ สามารถที่จะกดกิเกสให้ดับลงได้ชั่วคราว สามารถระงับกายสังขารอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ของร่างกายได้ และถ้าหากทำจนมีความคล่องตัว เราสามารถรู้ได้แม้แต่วันตายของตัวเอง

เมื่อเป็นเช่นนี้เราจึงละทิ้งอานาปานสติไปไม่ได้ ทุกคนที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อมรรคเพื่อผล จำเป็นอยู่เสมอที่จะต้องอาศัยอานาปานสติเป็นหลัก แต่เนื่องจากว่าหลายท่านทำมาจนชินแล้ว นึกจะเข้าสมาธิเมื่อไรก็สามารถเข้าถึงระดับสมาธิที่ต้องการได้ ในที่นี้ก็จะไม่ขอกล่าวถึง จะกล่าวถึงสำหรับผู้ใหม่หรือผู้เก่าที่ยังไม่สามารถทรงฌานได้แม้แต่ปฐมฌาน ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออกของเราเอาไว้

โดยเฉพาะว่าการหายใจเข้าออกนั้น เขาไม่ให้บังคับลมหายใจ ก็คือร่างกายต้องการลมหายใจแรงหรือเบา ยาวหรือสั้น ให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ เราแค่เอาสติตามลมหายใจเข้าไป เอาสติตามลมหายใจออกมาเท่านั้น ไม่ต้องไปตั้งใจว่าเราจะทำเพื่อทรงปฐมฌาน เพื่อทรงฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ให้คิดเสียว่าเรามีหน้าที่ทำ เมื่อทำแล้วผลจะเกิดอย่างไรก็ช่างมัน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-09-2016 เมื่อ 11:45
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา