ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 28-06-2011, 02:08
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,614
ได้ให้อนุโมทนา: 151,817
ได้รับอนุโมทนา 4,413,310 ครั้ง ใน 34,204 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถ้าเราไม่รีบพิจารณา เมื่อสมาธิคลายออกมาก็จะฟุ้งซ่านไปในรัก โลภ โกรธ หลง โดยเอากำลังของสมาธินั้นแหละเป็นพื้นฐานในการฟุ้งซ่าน ดังนั้น..นักปฏิบัติส่วนหนึ่งจะพบกับความทุกข์ยากลำบากมาก เพราะไม่รู้ว่าตนเองทำผิดวิธี ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านหลังจากนั่งสมาธิแล้ว

เมื่อจิตมีกำลังจากการสร้างสมาธิของเรา เวลาฟุ้งซ่านเราก็เอาไม่อยู่ เกิดความทุกข์ความกลุ้มใจ และคิดว่ายิ่งปฏิบัติ กิเลสรัก โลภ โกรธ หลงยิ่งมากขึ้น แต่ความจริงไม่ใช่ กิเลสมีอยู่เท่าเดิม แต่เราไปใช้กำลังสมาธิช่วยในการฟุ้งซ่าน ก็เลยดูเหมือนกิเลสมีกำลังกล้าแข็ง มีพรรคพวกมีกำลังมากขึ้น สามารถทำร้ายเราได้มากขึ้น เป็นต้น

เรื่องทั้งหลายเหล่านี้จำเป็นที่เราจะต้องสังวรณ์ระวังเอาไว้ เพราะปฏิบัติมานานแล้วไม่ได้ผล เราจำเป็นต้องทบทวนว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง

เมื่อเรามีศีลบริสุทธิ์ มีสมาธิตั้งมั่น ถึงเวลาคลายออกมาพิจารณา การพิจารณานั้นจิตก็จะดิ่งลึกลงไปตามลำดับ จนในที่สุดก็จะกลายเป็นสมาธิตามเดิม เราก็มีหน้าที่ตามดูตามรู้ในสมาธินั้นเท่านั้น เมื่อสภาพจิตดำเนินไปถึงที่สุดของสมาธิ ก็จะกลับคลายออกมาใหม่ เราก็รีบพิจารณาต่อ

ดังนั้น..สมถกรรมฐานที่สร้างสมาธิให้เกิด และวิปัสสนากรรมฐานที่สร้างปัญญาให้เกิด มีความจำเป็นที่จะต้องทำร่วมกันไปถึงจะก้าวหน้า เพราะทั้งสองอย่างเหมือนคนที่ผูกเท้าติดกัน เมื่อก้าวเท้าซ้ายไปสุดแล้ว ถ้ายังดื้อจะก้าวต่อ ก็จะโดนสิ่งที่ผูกอยู่นั้นรั้งกลับ ไม่สามารถที่จะก้าวต่อไปได้ เราจึงจำเป็นต้องก้าวเท้าขวา จึงจะก้าวต่อไปได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 28-06-2011 เมื่อ 02:54
สมาชิก 57 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา