ดูแบบคำตอบเดียว
  #10  
เก่า 25-02-2009, 19:52
ชินเชาวน์'s Avatar
ชินเชาวน์ ชินเชาวน์ is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Oct 2008
ข้อความ: 259
ได้ให้อนุโมทนา: 13,956
ได้รับอนุโมทนา 50,289 ครั้ง ใน 1,280 โพสต์
ชินเชาวน์ is on a distinguished road
Default

อภินิหารพระเครื่องในทัศนะของท่านธมฺมวิตกฺโก

ในช่วงปีท้าย ๆ ก่อนที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จะมรณภาพนั้น รู้สึกว่าท่านจะได้ตั้งใจอธิษฐานจิต และแผ่เมตตาลงในพระเครื่องมากมายเป็นกรณีพิเศษ โดยครั้งหลังสุดนั้น เมื่อ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ นั้น พระเครื่องและวัตถุมงคลมีมาก ถึงกับล้นออกมานอกพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์O โดยมีผู้คะเนว่า มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า ๓ ตันเลยทีเดียว ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้แก่หลายคนหลายท่านเป็นอย่างยิ่ง
เชื่อกันว่า การที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ยินยอมอธิษฐานจิตพระเครื่องวัตถุมงคลให้เป็นพิเศษในช่างหลัง ๆ นั้น แสดงว่าท่านจะต้องสำเร็จธรรมชั้นสูงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย ดังจะเห็นได้จากการที่ท่านได้ทุ่มเทศึกษา ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจจิต จนสามารถใช้ผจญกับโรคร้าย ความเจ็บไข้ และอสรพิษได้ผลอย่างน่าทึ่งมาแล้ว


และไม่ต้องสงสัย ท่านธมฺมวิตกฺโกก็มั่นใจในพลังและอำนาจจิตของท่าน ที่ได้บรรจุพุทธานุภาพลงในสิ่งมงคลสักการะทั้งหลาย ว่ามีอิทธิปาฏิหาริย์จริง สามารถช่วยให้บุคคลทั้งหลายแคล้วคลาดจากอุปัทวันตราย และส่งเสริมให้ประสพกับความสุขสมหวังและความสำเร็จต่าง ๆ ในชีวิตได้จริง โดยท่านได้ให้อรรถาธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า “ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริงในเรื่องของอำนาจจิต แต่ต้องเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างผู้สร้าง (เสก) กับผู้นับถือ


ขั้นแรกนั้น ผู้สร้างคือผู้ที่ถ่ายทอดอำนาจจิตลงในพระเครื่องนั้นจะต้องเป็นผู้มีอำนาจจิตสูง มีศีลบริสุทธิ์ และถ่ายทอดพลังอำนาจปราณลงไปอย่างไม่เห็นแก่อามิสสินจ้างใด ๆ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ส่วนผู้นับถือก็จะต้องมีความศรัทธาอย่างจริงใจ มีจิตเพ่งอยู่กับวัตถุศักดิ์สิทธิ์ จนเกิดเป็นพลังจิตของตนเองขึ้นด้วย จนกลายเป็นความเชื่อมั่น นี้จึงจะเป็นเหตุให้เกิดอำนาจและบุญฤทธิ์...”


ด้วยเหตุดังกล่าวมา ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ จึงได้เมตตาสั่งกับนายสุวัฒน์ เด็กหนุ่มเชื้อจีนแถวสี่แยกวัดตึก ซึ่งเคยฝันเห็นท่านระหว่างที่ตนเองเจ็บป่วยมาก่อน ต่อเมื่อหายแล้วจึงได้เพียรมากราบองค์จริงถึงที่วัด และเกิดความศรัทธามั่นในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่งว่า “คุณ พระนี่ช่วยได้นะ ไม่จำเป็นอย่าไปปล่อย...” นี้ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างสิ้นสงสัยว่า ท่านธมฺมวิตกฺโกมีความเชื่อมั่นและมั่นใจในพลานุภาพของพระเครื่อง ที่ประจุด้วยอำนาจจิตที่ฝึกมาดีแล้วเพียงไร??

“จะเอาอะไรกับรูปสมมุติคนหัวโล้น ???”

ในช่วงหลัง ๆ ที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯได้เริ่ม ”เปิด” โดยการอธิษฐานจิด ”สิ่งมงคลสักการะ” คือพระเครื่องรางตลอดจนวัตถุมงคลทั้งหลาย เป็นอนุสสติแก่พุทธศาสนิกชนนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า ในการขออนุญาตสร้างพระแต่ละรายนั้น จะเป็นรูปของพระพุทธทั้งสิ้น จะไม่มีรูปเหมือนของท่านเข้ามาปะปนเลย และหากแม้ว่าจะมี ส่วนใหญ่มักจะ ”ลักทำ” รูปเหมือนท่านมาก่อน และ ”ซุก” ในหีบห่อพระพุทธให้ท่านปลุกเสกไปพร้อมกัน ซึ่งท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ท่านมักจะบ่นอยู่เสมอว่า ไม่เป็นการที่สมควรว่า “จะเอาอะไรกับรูปสมมุติคนหัวโล้น ไม่สวยไม่งาม เอาไปกราบไหว้บูชาทำไมกัน.?? เหตุที่เป็นนี้ ก็หาได้เกิดจากการที่ท่านถือโชคถือลางอันใดว่าจะเป็นเหตุให้ท่านต้อง ”อายุสั้น” ทั้งสิ้นแต่อย่างไรไม่ สมดังที่ท่านได้เคยกล่าวกับอดีตท่านเจ้าคุณอุดมฯ ไว้คราวหนึ่งว่า “เขาถือ เขาไม่ทำกัน ในเมื่อคนยังไม่ตาย แต่ฉันไม่ถือหรอก”

ก็การที่ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ ไม่นิยมให้สร้างรูปเหมือนของท่านเองนั้น ก็เป็นด้วยท่านเห็นว่าเป็นการอวดตัวหรือการโฆษณาตัวเองมากกว่า ซึ่งท่านไม่ชอบ พูดอย่างง่าย ๆ ก็คือ ท่านไม่อยาก “ดัง” นั่นเอง ด้วยเหตุดังนี้ เมื่อมีผู้นำพระรูปเหมือนของท่านไปขอให้ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ฯ อธิษฐานจิต ท่านจึงมักจะทักท้วงโดยประการต่าง ๆ พร้อมกับให้ ”ไอเดีย” ใหม่ ๆ อยู่เสมอ ๆ ว่า “ทำไมไม่ทำพระนาคปรกบ้างเล่า..?” “พระแก้วทำไมไม่ทำบ้าง เพราะเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง..??” “นี่คุณ ทำไมไม่สร้างพระสมเด็จบ้างเล่า ทำแต่รูปอาตมาหัวโกร๋น คนชอบเขาก็ว่าดี เอาไปไหว้บูชา คนไม่ชอบก็ว่ารูปคนแก่หัวโกร๋น..???” โดยเหตุดังพรรณนามานี้ พระพิมพ์นาคปรก พระพิมพ์สมเด็จ พระพิมพ์พระแก้วมรกต ฯลฯ จึงได้บังเกิดขึ้นมาในรูปแบบต่าง ๆ ให้บรรดานักนิยมพระเครื่องได้สะสมบูชากันเป็นที่สนุกสนานสำราญบานใจ และเจริญความเลื่อมใสศรัทธากันอย่างเหลือล้นมาจนถึงทุกวันนี้

และเกี่ยวกับเรื่องของการสร้าง ”รูปเหมือน” นั้น ท่านธมฺมวิตกฺโก ได้เคยกล่าวเป็นคติไว้อย่างน่าฟังยิ่งว่า


“พระสงฆ์สมัยนี้เป็นอันมาก ชอบสร้างรูปตัวเองให้คนอื่นเอาไปกราบไหว้บูชา เป็นการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณและอภินิหารของตัวเอง เป็นการกระทำที่เสี่ยงอันตรายเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการอาบัติ ด้วยเป็นการอวดอ้างคุณวิเศษของตัว....”

แต่... “ถ้าหากพระรูปนั้นมีคุณวิเศษเก่งแท้แน่จริงก็ไม่เป็นไร...”

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2019 เมื่อ 03:05
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 18 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ชินเชาวน์ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา