ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 26-08-2010, 11:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,614
ได้ให้อนุโมทนา: 151,817
ได้รับอนุโมทนา 4,413,340 ครั้ง ใน 34,204 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนเมื่อวานเรามากล่าวถึงว่า ในความเป็นพระโสดาบันใช้แค่กำลังของปฐมฌานก็พอแล้ว สามารถตัดกิเลสในระดับพระโสดาบันได้ โดยการละสังโยชน์สามข้อแรก แต่ว่าในความเป็นพระสกทาคามีนั้น กำลังของเราจะต้องถึงระดับฌานสี่ จึงสามารถระงับยับยั้งไม่ให้กามราคะและโทสะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที ในส่วนของพระอนาคามีนั้น ฌานสี่ต้องคล่องตัวจริง ๆ เราจึงจะตัดกามราคะสังโยชน์ และปฏิฆะสังโยชน์ได้โดยเด็ดขาด

สำหรับวันนี้เรามากล่าวถึงสังโยชน์ เครื่องร้อยรัดให้เราติดข้องอยู่ในวัฏสงสารนี้ ในข้อที่ ๖ ก็คือรูปราคะ ความยินดีในรูป และอรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูป

ความยินดีในรูป ก็คือ รูปที่เห็นด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นรูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เห็นแล้วยินดี อยากมี อยากได้ จัดเป็นรูปราคะทั้งสิ้น และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสุข ความสงบในรูปฌานสมาบัติของเรา ไม่ว่าจะเป็นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานก็ตาม

ฌานทั้งหลายเหล่านี้จะกดกิเลสให้ดับลงชั่วคราว ทำให้เกิดความสุขเยือกเย็นแก่เราอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แล้วเราก็ไปยึดในความสุขทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าเรายึดอยู่ก็แปลว่าเราติดในรูปราคะ ก็คือสังโยชน์ตัวที่ ๖ นี่เอง

ส่วนสังโยชน์ตัวที่ ๗ นั้น ก็คือ อรูปราคะ ความยินดีในความไม่มีรูป ความยินดีในความไม่มีรูปนั้น ในส่วนที่จะเห็นได้ชัดก็คือ ความยินดีในอรูปฌานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอากาสานัญจายตนะฌาน นอกจากจะสามารถทรงกำลังฌานสี่ได้แล้ว ยังเพิกรูปกสิณที่เราทำได้ไปเสีย จิตจับเอาความว่างของอากาศเข้าไปแทน แล้วไปยินดีในความว่างที่ไม่มีอะไรอยู่นั้น

หรือว่าวิญญาณัญจายตนะฌาน การที่เราละรูปเสีย ไปจับเอาความเวิ้งว้างไร้ขอบเขตของวิญญาณแทน แล้วไปยินดีอยู่ในจุดนั้น หรือว่าอากิญจัญญายตนะฌาน เราสามารถกำหนดพิจารณาเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ในที่สุดก็สลายตายพังไปทั้งสิ้น แม้ในที่สุดก็ไม่มีอะไรเหลือ แล้วไปยินดีในสิ่งที่ไม่มีอะไรเหลือนั้น

หรือว่าข้อสุดท้าย เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน สามารถใช้กำลังสมาธิของเรา กดจนกระทั่งความรู้สึกมีก็เหมือนไม่มี หนาวก็เหมือนทำกับไม่หนาว ร้อนก็ทำเหมือนกับไม่ร้อน หิวก็เหมือนกับไม่หิว กระหายก็เหมือนกับไม่กระหาย เป็นต้น

แล้วเราไปยินดีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานนี้ ก็แปลว่าเรายึดติดในอรูปราคะ คือ ความไม่มีรูปไปด้วย ทั้งสองข้อนี้ก็เป็นสองข้อใหญ่ ข้อที่ ๖ และข้อที่ ๗ ที่จะร้อยรัดเราให้ติดอยู่ในวัฏสงสารได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 26-08-2010 เมื่อ 14:06
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา