ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 23-04-2012, 07:25
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,526
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,320 ครั้ง ใน 34,116 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนข้อสุดท้ายของสังโยชน์ก็คือ เรายังมีความยินดีพอใจในสิ่งต่าง ๆ เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดหรือไม่ ? ถ้ามีความยินดีอยู่ก็คือฉันทะเกิดขึ้นแล้ว ก็จะทำให้ราคะ อยากมีอยากได้เป็นปกติ

ฉันทะกับราคะเมื่อรวมกันจะเป็นอวิชชา คือความมืดบอดที่บดบังปัญญาของเราอยู่ ตาเห็นรูปแล้วชอบใจ ก็แปลว่าฉันทะความพอใจเกิดขึ้น ถ้าเผลอสตินิดเดียว ราคะความยินดีอยากมีอยากได้ก็จะปรากฏตามมา หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดก็เช่นกัน

ดังนั้น..เราสามารถวัดตัวเองได้ว่า การปฏิบัติของเราก้าวหน้าหรือไม่ก้าวหน้า ก็คือ ๑. ดูจากนิวรณ์ ๕ ประการว่ากินใจเราได้หรือไม่ ? ๒. ดูจากศีลตามสภาพของตน ๓. ดูจากสังโยชน์ที่ร้อยรัดเราอยู่ ข้อไหนเราสามารถทำให้เบาบางลงได้ ข้อไหนที่เรายังยึดติดอยู่เต็มร้อยส่วน ?

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเรามีการตรวจสอบ ทบทวน ไตร่ตรอง พิจารณาอยู่เสมอ เราก็จะรักษา กาย วาจา ใจ ของเราให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ไปคลุกคลีอยู่กับส่วนที่ไม่ดีไม่งาม ในลักษณะของการนินทาว่าร้ายหรือปะทะคารมกับผู้อื่น

การปฏิบัติธรรมนั้นเราต้องดูที่ตัวเอง แก้ที่ตัวเอง เรื่องของคนอื่นเป็นเรื่องของโลก ขึ้นชื่อว่าโลกนั้น หนักหนาเกินกำลังของเราที่จะแก้ไขได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ดูที่ตัวเองแก้ไขที่ตัวเอง ปรับปรุงกาย วาจา ใจ ของเราให้ดีขึ้น การกระทบกระทั่งกันก็จะไม่มีอย่างที่ผ่านมา

ลำดับต่อไปก็ขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันเสาร์ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๕
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-04-2012 เมื่อ 11:40
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา