ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 24-04-2015, 18:18
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,781 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ที่กล่าวเรื่องอย่างนี้ก็เพราะว่า ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมนั้น เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้ชิน ทำจนถึงชนิดที่ขาดไม่ได้ ทิ้งไม่ได้ ทำอย่างไรจะให้จิตของเราผูกอยู่กับลมหายใจเข้าออกตลอดเวลาโดยไม่หลุดไปอารมณ์อื่น นี่เป็นปัญหาที่อยากจะฝากพวกเราเอาไว้ทุกคน

การต่อสู้กับกิเลสนั้น เรื่องของสมาธิมีความจำเป็นสูงมาก เพราะทันทีที่กิเลสเกิดขึ้น สติรู้ตัวว่ารัก โลภ โกรธ หลงเข้ามา ก็ต้องมีสมาธิ ที่เหมือนอย่างกับห้ามล้อหรือเบรกรถ หยุดให้ทัน การที่เราจะหยุดได้ทันกำลังของสมาธิต้องดีพอ ถ้ากำลังไม่ดีพอเราจะหยุดไม่ทัน ก็จะโดนกิเลสชักจูงไปได้

พวกเรามีไหม..ที่รู้สึกโกรธแล้วสามารถหยุดได้ทันที ? ช่วยยกมือให้ชื่นใจหน่อย หรือว่าไปด่าชาวบ้านเขา ๓ วันแล้วเพิ่งรู้ตัวว่าโกรธ ? ดังนั้น..ในขั้นตอนของการปฏิบัติช่วงนี้ของเรา สำคัญที่สุดคือสร้างสมาธิให้ทรงตัว สมาธิจะทรงตัวได้ก็เริ่มจากศีล เราต้องระมัดระวังศีลทุกสิกขาบทของเราให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ การใช้สติระมัดระวังจดจ่ออยู่กับศีล จะสร้างสมาธิให้ค่อย ๆ เกิดขึ้น เราก็มาเพิ่มเติมด้วยการตามดูตามรู้ลมหายใจเข้าออก

หลายท่านรู้สึกว่าตัวเองใจเย็นขึ้น รู้จักยับยั้งชั่งใจมากขึ้น อย่าเพิ่งเชื่อว่าสมาธิดีขึ้น อาจจะเป็นเพราะแก่จนหมดไฟ เลยโกรธใครไม่ค่อยไหวแล้ว ก่อนหน้านี้ไฟลุกท่วมฟ้า..โกรธได้ทุกเวลา เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าปฏิบัติธรรมไปแล้วเราน่าจะดีขึ้น โกรธน้อยลง ที่ไหนได้..มาดูอายุ..จะเกษียณแล้ว ไม่มีแรงจะโกรธใครแล้ว ต้องระมัดระวังให้ดี อย่าเพิ่งเชื่อว่าตัวเองดี ต้องค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ ทำ ถ้าเราทำอย่างสม่ำเสมอความก้าวหน้าก็จะมี แต่ถ้าทำ ๆ ทิ้ง ๆ ก็จะไม่มีความก้าวหน้าให้ใครเห็น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-04-2015 เมื่อ 01:13
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 114 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา