ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 03-06-2010, 20:42
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,050 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พอเลิกงาน ๕ โมงเย็น หลังจากอาบน้ำอาบท่า กินข้าวกินปลาแล้ว ผมต้องรีบทำกำลังใจต่อ มานึก ๆ ดูก็เหมือนกับจุดเทียนเอาไว้ พอเราจุดตรงนี้ไว้ดวงหนึ่ง แสงมาแค่นี้ พอเราจุดตรงนี้อีกดวงหนึ่ง แสงก็มาประสานกันกับดวงแรกได้ แต่ก็มาได้แค่นี้ จึงต้องจุดตรงนี้อีกดวงหนึ่ง

ดังนั้นว่า ถ้าหากว่า ถ้าเรามีความขยันเหมือนผึ้ง ก็คือว่า ตั้งใจปฏิบัติจริง ๆ ทำโดยต่อเนื่อง เราก็จะสามารถรักษากำลังใจให้ทรงตัวได้ พอกำลังใจทรงตัวตั้งมั่นได้จุดหนึ่ง ถ้าหากว่าใจสงบในระยะเวลาที่ยาวนานพอ ปัญญาที่สามารถรู้เห็นธรรม หรือแม้กระทั่งทิพจักขุญาณ ที่จะรู้เห็นในเรื่องของผี ของเทวดา ของนรกสวรรค์ ก็จะเกิดขึ้นเอง

แต่ว่าให้เราปฏิบัติในลักษณะที่ว่า เรามีหน้าที่ทำ แต่จะเกิดหรือไม่เกิดเป็นเรื่องของเขา ไม่อย่างนั้น ถ้าเราตั้งใจจะทำให้เกิด ไม่มีทางเกิดหรอก เพราะกลายเป็นฟุ้งซ่านแทน

ข้อที่สอง ท่านบอกว่าผึ้งนั้นจะไม่บินสูงนัก คือ จะบินพอดี พอดีกับการที่จะไปหาน้ำหวานหรือเกสรดอกไม้ เพราะต้นไม้คงจะไม่สูงเกิน ๓๐ - ๔๐ เมตร ถ้าสูงมากก็ไปไม่ไหว

ดังนั้น เรามาพิจารณาดูว่า ถ้าเป็นการปฏิบัติ ก็คือมัชฌิมาปฏิปทา**นั่นเอง คือ ทำให้พอเหมาะ ทำให้พอดี ไม่เข้มงวดจนเกินไป แต่ก็ไม่ผ่อนจนหย่อนยาน ต้องพอเหมาะพอดี

เหมือนกับที่พระอินทร์ท่านมาแสดงปริศนาธรรม ด้วยการดีดพิณสามสายถวายเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรมานตนอยู่ สายที่ขึงตึงเกินไป ดีดไปได้ไม่กี่ทีก็ขาด สายที่หย่อนเกินไป ดีดไปแล้วเสียงก็ไม่เป็นสรรพรส ต้องสายที่พอดี ๆ จึงจะไพเราะน่าฟัง

แต่ว่าความพอดีของแต่ละคนนั้น ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังใจ แล้วก็บารมีเดิมของแต่ละคนที่สร้างสมมา เราต้องหาจุดเหมาะสมของตัวเอง ถ้าหากรู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ให้ลองฝืนใจดู ถ้าหากว่าฝืนได้ แสดงว่าเมื่อครู่นี้กิเลสหยาบคือนิวรณ์ชวนให้เราขี้เกียจ

แต่ถ้าฝืนไม่ได้ ก็ให้เราเลิก ถึงฝืนได้ทำต่อได้ ก็อย่าให้เกินชั่วโมง ให้พักผ่อนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นแทน ประคองกำลังใจเอาไว้ เว้นช่วงสักชั่วโมง ๒ ชั่วโมง แล้วค่อยมาเริ่มใหม่ ไม่อย่างนั้น..ใหม่ ๆ เรายังไม่เคยชินกับการที่จิตโดนกดนิ่งนาน ๆ ถ้าหลุดเมื่อไร คราวนี้พ่ออาละวาดเตลิดเปิดเปิงเลย

ฉะนั้น..ต้องรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ทำให้พอดี ๆ ให้เหมือนกับผึ้งที่บินพอดี คือ พอดีกับการหาอาหารของตน


หมายเหตุ :
** ที.ม. ๑๐/๒๙๙/๓๔๘ : ม.มู. ๑๒/๑๔๙/๑๒๓ : ม.อุ. ๑๔/๗๐๔/๔๕๓ : อภิ.วิ. ๓๕/๕๖๙/๓๐๗
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 04-06-2010 เมื่อ 03:09
สมาชิก 95 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา