ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 23-12-2010, 09:55
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,886 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๙.“หากอยากเป็นคนฉลาด ก็จงอย่าทิ้งอริยสัจหรือกฎของกรรม จักได้เป็นผู้รู้เต็มกำลัง คือ จบกิจในชาติปัจจุบัน ถ้าอยากเป็นคนโง่ ก็จงคิดสะเปะสะปะ เกาะโน่น คว้านี่ ไม่ปล่อยวางกรรม ก็จงอยู่เกิดอยู่ตายกันต่อไป ดังนั้น เวลาจักพูดถึงกฎของกรรมหรืออริยสัจ ๔ ในระดับนี้ จักต้องเลือกผู้ฟัง และจักต้องรู้ถึงภูมิฐานของการปฏิบัติธรรมของผู้นั้นด้วย จักเสียเวลาเปล่า จงอย่าลืมการวัดกำลังจิตของบุคคล จักต้องใช้หลักตัดสังโยชน์ ๑๐ เป็นหลักสำคัญ การเข้าถึงมรรคผลมี ๘ ระดับ คือ มรรค ๔ ผล ๔ อย่าพูดโดยการเหวี่ยงแหคลุมเอา เพราะจักไม่ได้ปลาเลย ต้องเห็นระดับจิตของผู้ฟังหรือคู่สนทนาก่อน คือ เห็นตัวปลาก่อน จึงจักเหวี่ยงแหลงไป”

๑๐.”ถ้าจิตเราสงบมากเท่าใด คือ อย่าให้อุปาทานครอบงำจิต มีศีล-สมาธิ-ปัญญาแจ่มใสระงับนิวรณ์ ๕ ได้ดี เห็นภาพพระแจ่มใส ขอบารมีพระพุทธองค์คุมจิตในขณะนั้น ให้จิตใสเหมือนกระจกเงา ภาพอะไรผ่านมาจักเห็นได้ชัด การขอบารมีพระคลุมจิตอยู่นั้น การสนทนาธรรมก็จักมีผลดี และจงอย่าตำหนิกรรมของผู้ที่เข้ามาร่วมสนทนา เมื่อทราบระดับจิตของผู้นั้นแล้ว จงพิจารณาว่านี่เป็นธรรมดาของเขา ตำหนิกรรมของเขาเมื่อใด อุปาทานจักเกิดขึ้นเมื่อนั้น อคติจักเกิดขึ้นในจิตเราเอง เป็นการไม่เคารพกฎของกรรม ไม่เคารพอริยสัจ คำว่า อคติไม่เอียงซ้าย ไม่เอียงขวา คือ ราคะกับปฏิฆะ หากทำได้จิตจักสงบในขณะสนทนาธรรม ไม่หวั่นไหวในธรรม มีความมั่นคงในธรรม คือ ยอมรับกฎของกรรม หรือธรรมในธรรมของแต่ละบุคคล ยอมรับธรรมในธรรมของตนเอง จึงจักได้ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติในมัชฌิมาปฏิปทา


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา