ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 20-10-2011, 11:06
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งความทุกข์นั้น

สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งความทุกข์นั้น
เป็นอันเดียวกับตัณหา ๓

๑. “การฟังคำสอนของท่านฤๅษีเมื่อเย็นวานนี้ มีประโยชน์มาก เพราะชี้ให้เห็นชัดว่าสมุทัยหรือเหตุแห่งความทุกข์นั้น เป็นอันเดียวกับตัณหา ๓ ประการ

กามตัณหา ความทะยานอยากในสิ่งที่ยังไม่มี อยากให้มีขึ้น
ภวตัณหา เมื่อมีแล้ว ก็อยากให้สภาวะนั้นทรงตัวอยู่อย่างนั้น
วิภวตัณหา ทุกสิ่งทุกอย่างที่สุดก็เป็นอนัตตา จิตไม่ยอมรับความจริง มีความอยากดึงสภาวะนั้น ๆ ให้ทรงตัวกลับคืนมา

สิ่งเหล่านี้อาศัยอายตนะสัมผัส ทำให้เกิดเป็นเหตุของความทุกข์

๒. “จุดนี้เมื่อพวกเจ้าได้ฟังแล้ว ให้มีสติ-สัมปชัญญะกำหนดรู้ ตรวจสอบอารมณ์ของจิตดู จักได้ประโยชน์จากการปฏิบัติมาก แม้แต่คุณหมอเองวันที่ไปเมืองนอก ก็จักมีอารมณ์ตัณหาเหล่านี้กระทบมาก ให้ลองสำรวจดูอารมณ์ของจิตเอาไว้ด้วย ดูความทะยานอยาก ๓ ประการ ว่ามีความสิ้นสุดลงหรือยัง ถ้ายังมี ก็จัดว่ายังตกเป็นทาสของตัณหา”

๓. “นักปฏิบัติจักต้องศึกษาความรู้สึกของจิตอย่างละเอียดลึกซึ้ง การมีขันธ์ ๕ อย่างผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบาน ทุกอย่างทำเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น อะไรที่จักเกินเลยกว่าที่มีความจำเป็นนั้น ไม่มี ดูจุดนี้ไว้ให้ดี ถ้ามีความเพียรปฏิบัติอย่างเอาจริง การตัดกิเลสก็เป็นของไม่ยาก เมื่อเข้าใจในอารมณ์จิตว่าตกอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา ๓ ประการอย่างไรบ้าง ก็จงเพียรตรวจสอบจิต เพราะเพียงแค่เข้าใจเท่านั้น ยังไม่ใช่หนทางตัดกิเลส จักต้องนำมาปฏิบัติให้เกิดมรรคผลของจิตอีกด้วย”

๔. “อย่างกามตัณหา อยากมีในสิ่งที่เกินความเป็นจริงของชีวิต นี่จักต้องถามจิตอยู่เสมอในทุก ๆ ขณะจิตที่มีอารมณ์ทะยานอยากขึ้นมาว่า สิ่งที่อยากได้นั้นเกินพอดีหรือเปล่า มีความจำเป็นต่อชีวิตหรือเปล่า อย่าเข้าข้างความต้องการของจิตตนเอง ต้องตรวจสอบให้ถึงที่สุด จิตก็จักยอมรับและมีเพียงแค่ประทังชีวิตให้เป็นไปโดยไม่เดือดร้อนทั้งตนเองและผู้อื่น ไม่เดือดร้อนทั้งกาย วาจา ใจ”
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 46 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา