ดูแบบคำตอบเดียว
  #118  
เก่า 14-02-2010, 20:02
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,910 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงผนวช แล้วบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศากยกุมารทั้งหลายพากันบวชตามพระศาสดา เจ้าชายอนุรุทธะไม่ยินดีในการครองเรือน อันมีการงานไม่หมดสิ้น ที่สุดของการงานไม่ปรากฏ จึงให้เจ้าชายมหานามะซึ่งเป็นเชษฐภาดา(พี่ชาย) อยู่ปกครองบ้านเมือง ส่วนตนเองขอออกบวชดีกว่า

ดังนั้นจึงได้บวชพร้อมกันกับพระเจ้าภัททิยะ เจ้าชายอานนท์ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัต โดยให้อุบาลีซึ่งเป็นภูษามาลา(ช่างแต่งผม) ได้บวชก่อน เพื่อลดความถือตัวของความเป็นเชื้อสายกษัตริย์ให้เสื่อมคลายลง

บวชแล้วก็ในพรรษานั้นนั่นเอง ภิกษุอนุรุทธะก็สามารถบำเพ็ญเพียรจนได้ทิพยจักษุ (ตาทิพย์) แสวงหาแต่ผ้าบังสุกุล(ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) นำมาซักย้อมเอง แล้วนุ่งห่ม เป็นผู้มีสติ มักน้อย(ปรารถนาน้อย) สันโดษ(ยินดีตามแต่ฐานะของตน) ไม่มีความขัดเคืองใจ ยินดีในวิเวก(สงัดจากกิเลส) ปรารภความเพียรอยู่เป็นนิตย์

ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตีย์ กระทำสมณธรรม(ธรรมของผู้สงบระงับกิเลส )อยู่ที่นั่น โดยได้ตรึกตรองด้วยใจว่า

"ธรรมนี้ ๑. เป็นธรรมของผู้มักน้อย มิใช่ของผู้มักมาก ๒. เป็นธรรมของผู้สันโดษ มิใช่ของผู้ไม่สันโดษ ๓. เป็นธรรมของผู้สงัด มิใช่ของผู้ยินดีคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๔. เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของผู้เกียจคร้าน ๕. เป็นธรรมของผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่เป็นของผู้มีสติหลงลืม ๖. เป็นธรรมของผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของผู้มีจิตไม่มั่นคง ๗. เป็นธรรมของผู้มีปัญญา มิใช่ของผู้มีปัญญาทราม"

ภิกษุอนุรุทธะตรึกตรองได้ ๗ ข้อนี้ ก็เกิดปริวิตก(คิดโดยทั่วทุกด้าน)ว่า

"ธรรมะนี้เราพิจารณาถึงที่สุดแล้วหรือยัง"

ขณะนั้นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้วาระจิตในความปริวิตกของพระอนุรุทธะ จึงเสด็จมาโปรดเสริมให้ว่า

"ดูก่อน..อนุรุทธะ เธอจงตรึกตรองในข้อที่ ๘ ว่า ธรรมะนี้เป็นธรรมของผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า มิใช่ของผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า"

ในเวลาใดที่เธอตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก(ความนึกคิดของมหาบุรุษ) ๘ ประการนี้ ในเวลานั้นเธอจะหวังได้ทีเดียวว่า เธอจะเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนาได้โดย ไม่ยากไม่ลำบากในฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

พระอนุรุทธะยินดียิ่งในพระธรรมนั้น ปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาด้วยความไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ได้บรรลุวิชชา ๓ ( ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ = รู้ระลึกชาติได้ ๒. จุตูปปาตญาณ = รู้การเกิดและดับของสัตว์โลกได้ ๓. อาสวักขยญาณ = รู้ความหมดสิ้นไปของกิเลสตนได้) เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย
__________________
สักวันหนึ่งสี่ชีวิตจะได้พบซึ่งกันและกันเมื่อทุกอย่างพร้อม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วสันต์วิษุวัต : 07-01-2012 เมื่อ 03:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 62 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา