ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 02-08-2010, 16:51
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,833 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. ต้นเหตุจากมีคนจะเอาของมาให้ใช้ส่วนตัวมากเกินเหตุ เพราะไม่เห็นทุกข์หรือปัญหาที่จะพึงเกิดขึ้นภายหลัง จิตจึงฟุ้งซ่าน ทรงตรัสว่า เป็นของธรรมดา ธรรมของตถาคตมิใช่ของเนิ่นช้า (จะ) ละสิ่งใด สิ่งนั้นจักมากระทบจิต เพื่อทดสอบอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ยินดีก็แพ้ต่อกิเลส ยินร้ายไม่พอใจก็แพ้ต่อกิเลส ตถาคตจึงจักกล่าวว่าให้ชี้แจงเหตุผลให้เขาทราบ รักษาอารมณ์ใจให้เป็นกุศล เพื่อประโยชน์สุขของผู้ให้ทาน เขาจักได้รับผลใหญ่ด้วยจิตของเจ้าที่เป็นกุศลนั้น

๘. เรื่องอาหารการกินก็เช่นกัน เจ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ตามที่ตถาคตและทุกองค์ตลอดจนท่านฤๅษีเฝ้าพร่ำสอน แต่เจ้าจักให้บุคคลอื่นเห็นทุกข์เห็นโทษของการบริโภคอาหาร เหมือนกับเจ้านั้นย่อมเป็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น จงดูเจตนาที่เขาหวังดีกับเจ้าเป็นสำคัญ

๙. บุคคลผู้ยังเกาะติดอยู่ในกายมาก ก็ย่อมคิดที่จักบำรุงกายนั้นเพื่อให้ทรงอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่เขาห่วงกายเรา จึงเฝ้าบำรุงบำเรอ คิดว่ามันจักทรงตัว นี่เป็นความดีของเขาที่มีเมตตาต่อร่างกายเจ้า นั่นเป็นธรรมดาของเขาที่เจ้าควรจักยอมรับกฎของธรรมดานั้น

๑๐. มาศึกษาทางด้านจิตของเจ้าเอง กลับมาคิดมากจนขาดเมตตาจิตของเจ้าเอง เอามาเป็นอารมณ์ฟุ้งหาจุดลงไม่ได้ นี่เป็นโทษใหญ่ แม้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ากายนี้ไม่ใช่เรา แต่กายนี้มันก็ยังทรงอยู่ในปัจจุบัน การต้องการบริโภคอาหารก็ยังมีอยู่เป็นปกติของผู้ยังมีกายอยู่ ก็เป็นกฎธรรมดาอีกนั่นแหละ

๑๑. แม้เจ้าจักพยายามละกามคุณอยู่ แต่ควรกำหนดรู้ว่า การมีร่างกายก็ยังจักต้องเกี่ยวข้องอยู่กับกามคุณ ๕ การละต้องดูอารมณ์จิตเป็นสำคัญ อย่างกรณีอาหารและเครื่องอุปโภคที่เขาจักนำมาให้ ก็จงดูอารมณ์ของใจเป็นสำคัญ ถ้าหากยังฟุ้งอยู่ด้วยความยินดีหรือไม่ยินดี ก็นับว่าอารมณ์ยังเลวอยู่ ขาดเมตตาต่อจิตของตนเอง จึงยังอารมณ์ให้หวั่นไหวอยู่ และอารมณ์นั้นก็สร้างทุกข์ให้เกิด อย่างนี้เสียผลของการปฏิบัติหรือไม่ (ก็รับว่าเสียหาย)

๑๒. การคิดให้สับสน นำเรื่องโน้นเรื่องนี้เข้ามาหลายเรื่อง ทำให้อารมณ์จิตวุ่นวาย หาความสงบมิได้ จุดนี้ขอให้เจ้าพิจารณาให้ดี ๆ อย่าสักแต่ว่าเรื่องภายนอก แม้กระทั่งธรรมภายในก็เช่นกัน จับโน่นวางนี่ กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หากไม่ขึ้นต้นด้วยอานาปานสติให้ทรงตัวเสียก่อนแล้ว จิตเจ้าก็ไปคว้าหมวดโน้นนิด หมวดนี้หน่อย ก็ทำให้อารมณ์จิตสับสนวุ่นวาย สุดท้ายก็เอาอะไรดีไม่ได้

๑๓. ธรรมะไปสายเดียวกันก็จริงอยู่ เอโกธัมโมนั้นถูกต้อง แต่จิตของเจ้าไม่ฉลาดพอ จึงไม่รู้เท่าทันอารมณ์ จับโน่นนิดคิดนี่หน่อย เลยฟุ้งไปเสียก่อนที่จักได้ดี ปรับอารมณ์ตรงนี้ควบสมถะภาวนากองใดกองหนึ่งให้ถึงที่สุดเสียก่อนทุกครั้ง จิตจักได้มีกำลังต่อสู้กับกิเลส มิฉะนั้นเจ้าก็ต้องย่ำเท้าอยู่อย่างนี้ หาความก้าวหน้าในมรรคผลของการปฏิบัติไม่ได้

๑๔. ตั้งใจให้จริง อย่าทิ้งความตั้งใจทำจริง เพื่อมรรคผลนิพพานเป็นสำคัญ ต้องจดจำเอาไว้เสมอ จักได้พ้นทุกข์ของจิตเสียที อย่าลืม สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา ถ้าอยากให้อารมณ์จิตเป็นสุขและไม่ฟุ้งซ่าน จงอยู่ในธรรมปัจจุบัน อย่ายุ่งกับธรรมในอดีตและธรรมในอนาคต อย่าจับปลาหลายตัว ให้จับทีละตัวแบบกรรมฐาน ๔๐ ทำให้ดีที่สุดกองเดียวก่อน


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๖
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-08-2010 เมื่อ 18:15
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา