ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 15-05-2010, 17:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,528
ได้ให้อนุโมทนา: 151,474
ได้รับอนุโมทนา 4,406,535 ครั้ง ใน 34,117 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอังคารที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓

ขอให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกพร้อมกับภาพพระหรือพร้อมกับคำภาวนาไปด้วย เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับใจของเราก่อนเป็นอันดับแรก

วันนี้มีคนสอบถามเรื่องของการภาวนาไปสักครู่แล้วอึดอัด หายใจไม่ออก ลักษณะนั้นเป็นลักษณะของการที่มีลมหยาบอยู่ในร่างกายมากเกินไป จึงควรที่จะหายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒ - ๓ ครั้ง เพื่อระบายลมหยาบให้หมดไปก่อน แล้วหลังจากนั้นจึงหายใจตามปกติพร้อมกับคำภาวนา

วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นการปฏิบัติกรรมฐานวันที่สองของเดือนพฤษภาคมของพวกเรา ซึ่งก็ยังคงเป็นปกติก็คือ มีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มเสื้อหลากสี อยู่ใกล้ ๆ เราเช่นเคย

เมื่อทุกคนกำหนดภาพพระพร้อมกับคำภาวนาจนกำลังใจทรงตัวแล้ว สิ่งที่เรียกว่าจำเป็นต้องทำเลย ก็คือ การถอยกำลังใจออกมาอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ แล้วทำการพิจารณา

การภาวนานั้นจัดเป็นเจโตวิมุตติ คือการหลุดพ้นจาก รัก โลภ โกรธ หลง โดยการใช้กำลังใจข่มไว้ ใช้อำนาจของสมาธิสมาบัติกดกิเลสเอาไว้นั่นเอง ส่วนการพิจารณานั้น จัดเป็นปัญญาวิมุตติ การหลุดพ้นด้วยการใช้ปัญญาพิจารณา เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว จิตใจยอมรับ ปล่อยวางได้ ก็จะหลุดพ้นได้เช่นกัน ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป

ดังนั้น..เมื่อภาวนาจนทรงตัวแล้ว เราจึงจำเป็นที่จะต้องคลายออกมาเพื่อพิจารณา เนื่องจากการภาวนาและพิจารณานั้น เปรียบไปแล้วเหมือนคนที่ถูกผูกขาติดกันไว้ เมื่อก้าวเท้าด้านหนึ่งไปสุดแล้ว ก็ต้องก้าวอีกด้านหนึ่งตาม แล้วจึงก้าวอีกข้างหนึ่งไปได้ ถ้าเราดื้อจะก้าวเพียงเท้าเดียว เมื่อสุดแล้วก็มีแต่จะโดนกระตุกกลับเท่านั้น แต่ถ้าหากผลัดกันก้าวไป ตอนนี้ภาวนาตามหลักเจโตวิมุตติ พอกำลังใจทรงตัวก็คลายออกมาพิจารณาตามหลักของปัญญาวิมุตติ ถ้าเป็นไปได้ดังนี้เราจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา

การที่เราปฏิบัติภาวนาแล้วคลายกำลังใจออกมาพิจารณานั้น เราจะพิจารณาตามหลักของอริยสัจสี่ก็ได้ โดยดูที่ตัวทุกข์และสาเหตุของการเกิดทุกข์ เมื่อรู้และเข้าใจถึงถึงสาเหตุที่แท้จริงแล้ว เราก็ไม่สร้างเหตุนั้น ความทุกข์ก็ไม่สามารถที่จะเกิดได้

หรือพิจารณาตามไตรลักษณ์ เห็นทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายเป็นตัวตนของเราได้ หรือว่าจะพิจารณาตามแบบของวิปัสสนาญาณ ๙ เริ่มจาก
อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ
ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นว่าทุกอย่างล้วนแต่ดับสิ้นสลายไปหมด
ภยตูปัฏฐานญาณ เห็นว่าร่างกายนี้ โลกนี้เป็นทุกข์ เป็นภัย เป็นของน่ากลัว การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารเป็นภัยอันใหญ่หลวงยิ่ง เหล่านี้เป็นต้น ไปจนกระทั่งถึง
สังขารุเปกขาญาณ สามารถปล่อยวางได้ ไม่มีการยึดถือมั่นหมายในตัวตนเราเขาอีก เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 15-05-2010 เมื่อ 19:47
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา