ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 21-03-2017, 09:48
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,109 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อผ่านไประยะหนึ่งลมหายใจละเอียดขึ้น เราจะจับอาการกระทบได้น้อยลง จึงรู้สึกว่าลมหายใจเบาลง ไม่ต้องไปพยายามหายใจใหม่ให้แรงเท่าเดิม ปล่อยให้เบาไปตามธรรมชาติอย่างนั้น เมื่อลมหายใจละเอียดไปกว่านั้น เราอาจจะจับไม่ได้ จนรู้สึกว่าลมหายใจหายไป แต่ความจริงไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่จิตกับประสาทแยกจากกัน เราจึงไม่รับรู้อาการกระทบของลม ก็ให้กำหนดใจรู้อยู่ว่า ตอนนี้ลมหายใจเบาลง หรือว่าลมหายใจหายไป

ถ้าหากว่าสภาพจิตไปถึงจุดจริง ๆ ความนิ่งที่เกิดขึ้น จะทำให้แม้แต่คำภาวนาก็ไม่ต้องการ คำภาวนาก็จะหายไปด้วย เรามีหน้าที่กำหนดดูกำหนดรู้ว่า ตอนนี้ลมหายใจเบาลง ตอนนี้ลมหายใจหายไป ตอนนี้คำภาวนาหายไป อย่าไปดิ้นรนหายใจใหม่ อย่าไปดิ้นรนภาวนาใหม่ เพราะจะเป็นการย้อนไปที่จุดเริ่มต้น และในขณะเดียวกันก็อย่าอยากให้เข้าไปถึงสภาพอย่างนั้น เพราะตัวอยากทำให้ฟุ้งซ่าน สภาพจิตย่อมไม่ทรงตัว

สำหรับท่านที่กำหนดได้ยาก ก็ให้กำหนดลมหายใจแล้วนับเป็นคู่ หายใจเข้าจนสุดพร้อมกับคำภาวนา หายใจออกจนสุดพร้อมกับคำภาวนา นับเป็น ๑ คู่ หายใจเข้าจนสุดพร้อมกับคำภาวนา หายใจออกจนสุดพร้อมกับคำภาวนา นับเป็น ๒ คู่ โดยที่ตั้งใจเอาไว้ว่าเราจะนับลมหายใจเข้าออกให้ได้สัก ๑๐ คู่หรือ ๒๐ คู่ โดยที่ไม่คิดเรื่องอื่น

ถ้าเราเผลอสติไปคิดเรื่องอื่น รู้ตัวเมื่อไรก็ให้ย้อนกลับไปนับหนึ่งใหม่ ถ้าเราตั้งใจภาวนาแค่ ๑๐ คู่ ต่อให้นับไปจนถึง ๘ หรือ ๙ แล้ว ถ้าคิดเรื่องอื่นเมื่อไร ก็ย้อนกลับไปนับหนึ่งใหม่ สภาพจิตที่โดนทรมานอย่างนี้หลาย ๆ รอบ ก็จะรู้ว่าถ้าไม่ยอมสงบเราไม่ยอมเลิกแน่ สภาพจิตที่เหน็ดเหนื่อยแล้วก็จะยอมนิ่งลงไปเอง ยอมอยู่กับลมหายใจเข้าออกไปเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-03-2017 เมื่อ 11:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 32 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา