ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 22-07-2012, 16:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,523
ได้ให้อนุโมทนา: 151,448
ได้รับอนุโมทนา 4,406,282 ครั้ง ใน 34,113 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ลำดับการปฏิบัติต่อ ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณก็ดี นิพพิทาญาณก็ดี มุญจิตุกัมยตาญาณก็ดี ไปจนถึงสังขารุเปกขาญาณและสัจจานุโลมิกญาณ ก็อยู่นัยเดียวกัน ก็คือพิจารณาไปจนกระทั่งเห็นว่าร่างกายนี้หาสาระแก่นสารไม่ได้ ร่างกายคนอื่นหาสาระแก่นสารไม่ได้

ปัญญาที่ได้รับการส่งเสริมจากสมาธิจะชัดเจนและแหลมคมเป็นพิเศษ เห็นชัดเจนไปทุกส่วน ว่าร่างกายของเราเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด หาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ ดำรงอยู่ก็ประกอบไปด้วยความทุกข์ ไม่มีอะไรยึดถือเป็นตัวเป็นตนได้แม้แต่น้อยนิด จิตใจก็จะปลดวางจากร่างกาย ไม่ปรารถนาการเกิดมามีร่างกายนี้อีก ก็จะมุ่งเข้าสู่หนทางหลุดพ้นคือพระนิพพาน การใช้ปัญญาพิจารณาให้พิจารณาอย่างนี้

หรือว่าท่านใดชอบพิจารณายาว ๆ จะดูในเรื่องของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ หรืออินทรีย์ ๒๒ ก็ได้ ทั้งหมดก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเช่นกัน ยึดถือมั่นหมายเมื่อไรก็ประกอบไปด้วยความทุกข์ ในเมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีใครอยากได้ใคร่ดีในร่างกายนี้อีก ก็มุ่งสู่ทางหลุดพ้นคือพระนิพพาน

ท่านชอบใจตรงจุดไหน ส่วนไหน แบบไหน ให้พยายามนำมาคิดพิจารณาไว้บ่อย ๆ เพื่อที่จะได้ใช้กำลังสมาธิไปในทางที่ถูกต้อง หนุนเสริมในการที่จะห้ำหั่น ตัดละกิเลสต่าง ๆ ลง ถ้าหากว่าเราไม่นำสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มาให้คิด กิเลสก็จะชักจูงให้คิดไปในทางรัก โลภ โกรธ หลง และจะตีคืนได้ยาก เพราะกิเลสเอากำลังสมาธิไปคิด จึงมีความเข้มแข็งมากเป็นพิเศษ
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-07-2012 เมื่อ 02:44
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา