ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 06-10-2009, 13:11
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,495
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,439 ครั้ง ใน 34,084 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์วันเข้าพรรษา ปี ๒๕๕๒

สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ ติ

ณ บัดนี้อาตมภาพรับหน้าวิสัชนาในสุตกถา เพื่อเป็นเครื่องสดับสติปัญญาเพิ่มพูนบารมี เสริมสร้างกุศลบุญราศีให้แก่ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้

ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย โดยธรรมเนียมแล้ววันเข้าพรรษาของเรานั้น เป็นวันที่ท่านทั้งหลายจะได้ฟังเทศน์ ฟังธรรม ได้ทำบุญใส่บาตร ถวายเทียนพรรษา ตลอดจนผ้าอาบน้ำฝนและเครื่องใช้ไม้สอยจำเป็นอื่น ๆ ต่อพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

คำว่าวันเข้าพรรษานั้นก็คือ วันที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่ง ตลอดในฤดูฝนเป็นระยะเวลา ๓ เดือน ซึ่งความจริงแล้วในระยะแรกเริ่มที่ประกาศพระศาสนานั้น พระพุทธศาสนาของเรายังไม่มีการให้พระภิกษุจำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่ง

แต่เนื่องจากว่าในช่วงนั้นมีการแข่งขันกันทางพระศาสนาสูงมาก ศาสนาอื่น อย่างเช่น ศาสนาเชนของศาสดามหาวีระก็ดี มีการปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก จะไม่เดินทางในฤดูฝน เนื่องจากฤดูฝนเต็มไปด้วยสัตว์เล็กสัตว์น้อยมากมาย อย่างเช่นแมลงเม่า เป็นต้น สาวกทั้งหลายที่เดินทางในฤดูฝนนั้น ย่อมต้องไปเหยียบเอาสัตว์เล็ก ๆ ทั้งหลายถึงแก่ความตาย เป็นการเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น ท่านจึงได้ห้ามการเดินทางในฤดูฝน

เมื่อศาสดาของศาสนาเชนกำหนดข้อห้ามไว้ดังนี้ คนอินเดียที่นับถือศาสนาเชนเป็นจำนวนมาก ก็จำเป็นที่ขึ้นใจว่า ถึงเวลาฤดูฝนแล้ว เหล่านักบวชจะไม่เดินทาง เมื่อศาสนาพุทธของเราปรากฏขึ้น มาทีหลังศาสนาเชนเป็นระยะเวลาไม่น้อยเลย ชาวบ้านทั้งหลายก็จดจำเอาไว้ว่า ถึงเวลาพอเข้าฤดูฝนแล้ว เหล่านักบวชจะต้องอยู่ประจำที่ ไม่เดินทางไปไหน แต่ว่านักบวชของศาสนาพุทธยังคงเดินทางอยู่ จึงได้รับคำตำหนิติเตียนจากชาวบ้านเป็นอันมาก

จนกระทั่งระยะหลัง ๆ แม้บรรดาเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเหตุของการจำพรรษานั้น ก็มักจะกล่าวไปว่า พระภิกษุสงฆ์ไปเดินเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านให้เสียหาย อาตมาได้อ่านได้ฟังทีไร รู้สึกขัดใจทุกที มีความรู้สึกว่าพระภิกษุสามเณรของเราไม่ใช่ควาย..! ขนาดควายยังรู้ว่าตรงไหนเป็นหญ้า ตรงไหนเป็นข้าว แล้วพระของเรามีหรือที่จะเดินลุยเข้าไปในข้าวกล้าของเขา แต่ว่าตำราเขียนจนกลายเป็นอย่างนั้นไปเสียแล้ว ก็ไม่อยากให้ญาติโยมทั้งหลายจำไปผิด ๆ

ความจริงแล้วการแข่งขันในศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะทำให้ศาสนิกชนปรนนิบัติดูแลนักบวชของตนอย่างเต็มสติกำลัง ในฤดูฝนเขาทั้งหลายเหล่านั้นจำเป็นต้องทำมาหากิน โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าวเป็นหลัก เมื่อพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาไปถึง เขาจำเป็นต้องวางมือจากงานประจำ เพื่อมาต้อนรับขับสู้ปฏิสันถารกราบไหว้ ตลอดจนกระทั่งจัดเครื่องบริโภคใช้สอยและน้ำใช้น้ำฉันถวายแก่พระภิกษุ ทำให้ไม่มีเวลาที่จะไปทำไร่ทำนา การทำไร่ทำนาของเขาก็ต้องระงับลง ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 14-10-2011 เมื่อ 02:55
สมาชิก 78 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา