ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 20-02-2011, 18:59
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,474
ได้ให้อนุโมทนา: 151,107
ได้รับอนุโมทนา 4,404,002 ครั้ง ใน 34,063 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การที่เราจะรู้เท่าทัน เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส หรือใจครุ่นคิดนั้น สติ สมาธิ และปัญญาของเรา ต้องแหลมคมและว่องไวเพียงพอ ถึงสามารถที่จะหยุดอยู่เพียงนั้นได้

สำหรับพวกเราแล้ว ในเรื่องของศีล เชื่อว่าทุกคนสามารถที่จะรักษาได้ ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามกำลังของตน หรือถ้าเป็นสามเณรก็ศีล ๑๐ พระภิกษุ ๒๒๗ ดังนั้น..ในเรื่องศีลในที่นี้ขอยกไว้ไม่กล่าวถึง เพราะมั่นใจว่าพวกเราสามารถที่จะรักษาศีลได้อย่างแน่นอนและมั่นคง

ก็ต้องมากล่าวถึงเรื่องของสมาธิเป็นหลัก เพราะว่าสมาธิจะทำให้จิตของเรามีกำลัง สามารถที่จะหยุดยั้งเอาไว้ไม่ให้ไหลตามกิเลสไปได้ ขณะเดียวกันสมาธิก็สร้างสติและปัญญาให้เกิด สติจะรู้จักหยุดยั้ง ปัญญาจะรู้จักหลบหลีก หรือว่าปล่อยวางไม่รับเอาไว้ให้เกิดโทษแก่ตน

ดังนั้น..การปฏิบัติของเราในระดับนี้ จึงต้องเน้นสมาธิเป็นพิเศษ เพื่อสร้างให้จิตของเรามีกำลัง ถึงเวลาตาเห็นรูปจะได้หยุดยั้งเอาไว้ทัน หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัสก็เช่นกัน ถ้าเราหยุดเอาไว้ทัน ไม่ไปปรุงแต่งให้เกิด รัก โลภ โกรธ หลง ขึ้นมา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ไม่สามารถที่จะทำอันตรายแก่เราได้

แต่ว่าส่วนใหญ่แล้ว กำลังของเรายังไม่พอ เหตุที่กำลังไม่พอ เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะรักษาอารมณ์ฌานของเราให้ต่อเนื่องยาวนานได้ ส่วนหนึ่งตอนปฏิบัติอยู่สมาธิทรงตัวได้ดี แต่พอลุกขึ้นก็ทิ้งเสียหมด ไม่มีการประคับประคองรักษาอารมณ์สมาธิเอาไว้ ก็ทำให้กิเลส รัก โลภ โกรธ หลง งอกงามขึ้นมาใหม่
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-02-2011 เมื่อ 19:55
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา