ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 23-03-2009, 20:24
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,905 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

งานเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำ

งานเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำ หรือบางแห่งเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า "ปิดทองรดน้ำ" เป็นรูปภาพชนิดเอกรงค์ คือ มีลักษณะโดยรวมของรูปลักษณ์ที่ปรากฏเป็น "ลวดลาย" สีทองบนพื้นสีดำเสียเป็นส่วนมาก ที่เขียนเป็นภาพมนุษย์ หรือภาพสัตว์ในลักษณะงานตามกล่าวนี้มีเป็นส่วนน้อย แต่ก็แสดงรูปลักษณะทั้งนั้นเป็นสีทองเช่นกัน ลวดลายหรือ รูปภาพที่ทำให้สำเร็จในขั้นสุดท้ายด้วยการ "รดน้ำ" ชำระล้าง "น้ำยา" ซึ่งได้ดำเนินการเขียนตามกรรมวิธีเขียนน้ำยามาแต่ต้นให้น้ำยาหลุดถอนและคงเหลือแต่สีทองที่ต้องการให้เป็นลวดลายหรือรูปภาพบนพื้นนั้น อาศัยสาระของกระบวนการขั้นสุดท้ายของงานเขียนดังว่ามานี้ จึงมีชื่อเรียกเป็นอีกอย่างหนึ่งว่า "ลายรดน้ำ"


งานเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำตามกระบวนการเขียนที่เป็นขนบนิยมอย่างโบราณวิธี ประกอบด้วยวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และกระบวนการเขียนทำให้เกิดเป็นลวดลาย หรือรูปภาพ มีดังต่อไปนี้

วัสดุที่เป็นปัจจัยสำคัญในการรองรับการเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำคือ "พื้น" สำหรับงานนี้อาจทำลงบนพื้นชนิดต่าง ๆ คือ พื้นไม้ พื้นผนังถือปูน พื้นโลหะ พื้นหนังสัตว์
วัสดุที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อมาคือยางรักหรือรักน้ำเกลี้ยง สมุก น้ำยาหรดาน และทองคำเปลว
ยางรักหรือรักน้ำเกลี้ยง คือยางจากไม้ต้นชื่อรัก หรือน้ำเกลี้ยง มีลักษณะเป็นยางเหนียว เมื่อแรกกรีดออกมาจากต้นเป็นสีนวล ภายหลังเป็นสีน้ำตาลหรือดำ มีคุณสมบัติสำหรับทารองพื้นผสมกับสมุกและสำหรับเช็ดเพื่อปิดทองคำเปลว
สมุก คือสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อทารองพื้นหรือลงเป็นพื้นขึ้นไว้ชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นที่รองรับอยู่ข้างใต้มีคุณสมบัติดีขึ้น เฉพาะกรณีงานเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำมักใช้สมุกที่ประกอบด้วย ถ่านใบตองแห้งป่นผสมกับ ยางรัก กวนให้เข้ากันทำเป็นสมุก ใช้ทาลงพื้นบนพื้นไม้ พื้นผนังถือปูน เป็นต้น
น้ำยาหรดาน คือน้ำที่ผสมกับสิ่งที่มีคุณสมบัติสำหรับเขียนลวดลายหรือรูปภาพ เฉพาะกรณีงานเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำ น้ำยาหรดานเป็นวัสดุปัจจัยสำคัญยิ่งในขั้นดำเนินการเขียน
ทองคำเปลว คือทองคำแท้ที่แผ่ให้บางที่สุด ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม เป็นวัสดุสำคัญสำหรับทำให้เกิดเป็นลวดลาย หรือรูปภาพสีทองบนพื้นรักสีดำหรือสีแดง
ในงานเขียนน้ำยาปิดทอง ยังมีอุปกรณ์บางชนิดที่เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นคือ ดินสอพอง สำหรับขัดพื้นเก็บคราบน้ำมัน และใช้ตบแบบร่างหรือแบบโรย ฝุ่นถ่านไม้ ใช้ขัดเก็บรอยบนพื้นรัก และผงดินเผา ให้ขัดชักเงาพื้นรัก นอกจากนี้ก็มีเครื่องมือสำหรับงานนี้คือ ไม้พายสำหรับผสมสมุกหรือทาสมุก แปรงสำหรับทารักน้ำเกลี้ยง แปรงปัดทอง สำหรับปัดหน้าทอง พู่กันสำหรับเขียนเส้นและถมพื้น ลูกประคบทองสำหรับกวดหน้าทอง ลูกประคบฝุ่น สำหรับตบแบบร่าง หรือแบบโรยเพื่อถ่ายแบบโกร่งใส่ น้ำยาหรดาน ใช้สำหรับใส่และผสมน้ำยาหรดาน สะพานรองมือใช้สำหรับวางพาดรองมือขณะทำการเขียนน้ำยาหรดาน หินหนองแขมหรือหินฟองน้ำ ใช้สำหรับขัด ปอกพื้นรักสมุก หินลับมีดโกน ใช้สำหรับขัดผิวรัก กระดาษ สำหรับเขียนแบบร่างและทำแบบโรย เข็มสำหรับเจาะ ปรุ ตามเส้นร่างบนกระดาษร่างเพื่อทำเป็นแบบโรย

กระบวนการหรือขั้นตอนงานเขียนน้ำยาปิดทองรดน้ำ

การเตรียมพื้นสำหรับงานเขียนน้ำยาปิดทองรถน้ำ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะพื้นชนิดไม้แต่เพียงชนิดเดียว ทั้งนี้ เพราะพื้นชนิดไม้เป็นที่นิยมมากกว่าพื้นชนิดอื่น
ไม้ ที่ได้นำมาทำเป็นบานประตูบานหน้าต่าง ฝาตู้ ฝาหีบพระธรรม ฉากบังตา ใบประกับหน้าคัมภีร์ ฯลฯ เพื่อเขียนน้ำยารดน้ำปิดทองนี้ ต้องเป็นไม้เนื้อแห้งสนิท ได้รับการปรับพื้นหน้าให้ราบและขัดผิวพื้นให้เรียบเกลี้ยงไว้เสียชั้นหนึ่งก่อน
การเตรียมพื้นขั้นแรก คือการลงรักหรือทารักน้ำเกลี้ยงลงบนพื้นไม้ซึ่งได้ขัดผิวเตรียมไว้แต่ต้นนั้น ขั้นที่หนึ่ง ด้วยการใช้แปรงแตะรักน้ำเกลี้ยงทาพื้นแต่เพียงบาง ๆ ทาให้ทั่วและให้บางเสมอกัน แล้วบ่มรักที่ทาพื้นไว้นี้ให้แห้ง
งานเตรียมพื้นขั้นที่สอง คือ การลงสมุกหรือทาสมุกลงพื้นอีกชั้นหนึ่งตามอย่างโบราณวิธี ใช้ผงถ่านใบ ตองแห้ง หรือผงดินสอพองกับรักน้ำเกลี้ยง ผสมเข้าด้วยกันกวนให้เหนียวพอสมควร นำมาทาลงบนพื้นซึ่งทารักน้ำเกลี้ยงเตรียมไว้แล้วนั้น เมื่อทาสมุกหรือลงพื้นด้วยสมุกเต็มหน้าพื้นและกวดผิวให้เรียบเสมอกันแล้ว จึงบ่มสมุกให้แห้งโดยใช้เวลา ๒-๓ วัน

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 23-03-2009 เมื่อ 20:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 13 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา