ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #16  
เก่า 24-03-2009, 08:25
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

งานสลักกระดาษ

งานสลักกระดาษ หรือบางทีเรียกว่า "งานปรุกระดาษ" คืองานที่ช่างใช้กระดาษชนิดต่างๆ มาสลักทำให้เป็น รูปภาพหรือลวดลาย แล้วนำไปปิดประดับเป็นงานตกแต่งสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นสิ่งถาวรอยู่ได้นาน เช่น ปิดเป็นลวดลาย บนระใบฉัตรทองแผ่ลวด หรือเป็นสิ่งที่ต้องการใช้งานชั่วคราว เช่น ปิดลวดลายตกแต่งพระเมรุ ตกแต่งฐานเบญจา ตกแต่งเครื่องจิตกาธาน เป็นต้น
งานสลักกระดาษ ทำเป็นรูปภาพหรือลวดลายต่างๆ ที่ตามแบบแผนอย่างศิลปแบบไทยประเพณี และทำขึ้น ด้วยวิธีการอย่างโบราณ วิธีสลักกระดาษนั้น มีหลักการและขั้นตอนในการปฏิบัติงานโดยลำดับต่อไปนี้

วัสดุสำหรับงานสลักกระดาษ


วัสดุที่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับงานสลักกระดาษ คือกระดาษชนิดต่างๆ ต่อไปนี้
กระดาษอังกฤษ หรืออังกฤษเป็นโลหะชนิดหนึ่งแผ่นบางๆ ปรกติเป็นสีเงินทั้งสองด้าน แต่ได้ทำให้ด้านหนึ่ง เป็นสีทอง หรือสีอื่นๆ ก็มี
กระดาษทองย่น กระดาษชนิดหนึ่งปิดโลหะแผ่นบางๆ เคลือบด้วยสีทอง ผิวย่นเป็นริ้วๆ
กระดาษทองตะกู หรือกระดาษทองน้ำตะโก คือ กระดาษชนิดหนึ่งปิดทับด้วยแผ่นตะกั่วบางๆ แล้วทาด้วยรง ผสมน้ำมันยางให้เป็นสีทอง
กระดาษแผ่ลวด หรือทองแผ่ลวด หรือใบลวดก็ว่า คือกระดาษชนิดหนึ่ง หารักน้ำเกลี้ยงแล้วปิดหน้ากระดาษ ด้วยทองคำเปลวแผ่เต็มหน้ากระดาษ
กระดาษทองเงิน คือกระดาษชนิดหนึ่ง เคลือบผิวเป้นสีทอง สีเงินและสีอื่นๆ ผิวเป็นมันคล้ายอังกฤษ
กระดาษสี คือกระดาษชนิดหนึ่ง ย้อมทำเป็นสีต่างๆ
กระดาษฟาง
กระดาษว่าว

เครื่องมืองานสลักกระดาษ

การปฏิบัติงานสลักกระดาษตามอย่างโบราณวิธี ต้องการเครื่องมือสำหรับงานช่างประเภทนี้ ดังรายการต่อ ไปนี้
สิ่ว หน้าต่างๆ คือ
สิ่วฉาก
สิ่วเล็บมือ
สิ่วเม็ดแตง
สิ่วร่อง
ตุ๊ดตู่ ขนาดต่างๆ
เหล็กปรุ สำหรับดุนลายเนื่องเม็ดไข่ปลา
เหล็กหมาด
มีดบาง สำหรับตัดกระดาษ หรือกรรไกร
ค้อนไม้

อุปกรณ์สำหรับงานสลักกระดาษ ได้แก่

เขียงไม้
ลวดดอกไม้ไหว
แป้งเปียก

การปฏิบัติงานสลักกระดาษ

ขั้นตอนการปฏิบัติงานสลักกระดาษอย่างโบราณวิธี มีลำดับขั้นตอนดังนี้

การผูกเขียนภาพ หรือลวดลายสำหรับสลักกระดาษ
การผูกเขียนรูปภาพหรือลวดลายที่จะใช้เป็นแบบแผนสำหรับจะได้ทำการสลักกระดาษ มีหลักการและวิธีการ ต่างกัน ๒ ลักษณะ คือ การผูกรูปภาพหรือลวดลายแบบเจาะช่องไฟหรือผูกลายทิ้งพื้น และแบบเจาะตัวลายหรือผูก ลายทิ้งลาย
แบบร่าง หรือแบบอย่างที่ผูกเขียนขึ้นสำหรับจะได้ใช้งานสำหรับสลักกระดาษ จะต้องเขียนให้เท่าขนาดจริง และเป็นลายเส้นชัดเจนถ้าเป็นงานสลักกระดาษที่ต้องการทำลวดลายติดเนื่องต่อกันด้วย "แม่ลาย" เดียวกันก็จะต้อง คัดลอก "แม่ลาย" ขึ้นจากแบบร่างที่เป็นต้นแบบไว้ให้มากแผ่นพอแก่จำนวนที่ต้องการกระดาษที่ได้ลอกแม่ลายไว้นี้ เรียกว่า "แม่แบบ"

การเตรียมงานสลักกระดาษ

ขั้นต้น จะต้องตัดกระดาษชนิดที่เลือกไว้จะใช้งานสลักให้ได้ขนาดกันกับขนาด "แม่แบบ" แต่ละแบบ ให้ได้ จำนวนมากพอสำหรับจะใช้งาน
ขั้นที่สอง นำเอากระดาษฟางมาตัดเป็นแผ่นให้ได้ขนาดกันกับกระดาษ "แม่แบบ" ให้ได้จำนวนเกินกว่า กระดาษที่ใช้สลักทำรูปภาพหรือลวดลาย กระดาษฟางนี้ เรียกว่า "ใบซับ" สำหรับใช้วางคั่นอยู่ระหว่างกระดาษที่จะ สลักแต่ละแผ่นๆ
ขั้นที่สาม จัดกระดาษวางให้เป็นลำดับสำหรับจะทำการสลักโดยมีใบซับคั่นไว้แต่ละแผ่น เพื่อคั่นกระดาษที่ได้ สลักแล้วติดกันกระดาษที่ได้สลักแล้วติดกันกระดาษที่ลำดับเรียบร้อยแล้วนี้เรียกว่า "ตั้ง"
ขั้นที่สี่ เป็นการใส่ "หมุด" คือ การดาษว่าวทำเป็น "หมุด" ร้อยลงที่มุมตั้งกระดาษทั้ง ๔ มุม กำกับตั้งกระดาษ มิให้เลื่อนหรือเหลื่อมหลุดออกจากตั้งขณะทำการสลัก

การสลักกระดาษ

การสลักกระดาษ ทำเป็นลวดลายหรือรูปภาพให้ได้งานสลักดังแบบอย่างที่ได้ผูกเขียนทำขึ้นเป็นแบบไว้แต่ แรก ทำดังนี้
นำเอาตั้งกระดาษที่ได้วาง "แม่แบบ" และใส่ "หมุด" ไว้มาวางลงบน "เขียงไม้" ใช้สิ่วหน้าต่างๆ และขนาดต่างๆ กัน ตอกเจาะหรือสลักเดินไปตามลายเส้น "แม่แบบ" ตอนใดที่ต้องการให้เป็นรูเป็นดวงจะใช้ตุ๊ดตู่ เจาะปรุ หรือหากต้องการทำเป็นเส้นแสดงส่วนละเอียด เป็นเส้นไข่ปลา ก็ต้องใช้เหล็กปรุตอกดุนขึ้นมาข้างใต้ตัวลาย หรือรูปภาพ ซึ่งต้องทำภายหลังสลักทำเป็นลวดลายหรือรูปภาพครบถ้วนแล้ว

การรื้อตั้งกระดาษ

เมื่อสลักกระดาษแต่ะลตั้งๆ สำเร็จครบถ้วนแล้ว จึงรื้อตั้งกระดาษออก โดยปลดหมุดแต่ละตัวด้วยการคลายปม ที่ปลายหมุด แล้วถอนหมุดขึ้นให้หมด จึงปลดกระดาษที่สลักแล้วออกจากใบซับนำไปใช้งานต่อไป

การตกแต่งงานสลักกระดาษ

กระดาษชนิดที่ใช้ในการสลักทำให้เป็นลวดลายหรือรูปภาพต่างๆ ส่วนมากมักเป็นกระดาษสีทอง ดังนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มเติมสีสันให้แก่งานสลักกระดาษให้สวยงามมีคุณค่าเสมอด้วย หรือทดแทนงานปิดทอง ประดับกระจก ได้ แม้จะเป็นงานศิลปอย่างกำมะลอก็ตาม จึงได้มีการนำกระดาษสีต่างๆ มาใช้เป็นส่วนประกอบร่วมกับกระดาษ สีทองโดยใช้กระดาษสีรองอยู่ข้างใต้ช่องที่เจาะเป็นลายหรือพื้นลาย ที่ได้สลักทำเป็นลวดลายนั้น
งานสลักกระดาษ เป็นงานศิลปกรรมที่จัดอยู่ในจำพวกประณีตศิลป เป็นงานในหน้าที่ช่างสลัก ซึ่งเป็นช่าง จำพวกหนึ่งในช่างสิบหมู่นี้มีงานสลักกระดาษโดยประเพณีนิยมที่ได้สร้างทำขึ้นในโอกาส วาระ และการใช้สอย ต่างๆ ที่พึงยกมากล่าวให้ทราบคือ
งานสลักกระดาษประดับเครื่องแสดงอิสริยยศ ได้แก่ ฉัตรทองแผ่ลวด ฉัตรปรุ บังสูรย์ บังแทรก จามร
งานสลักกระดาษประดับเครื่องอุปโภค ได้แก่ พานแว่นฟ้า พานพุ่มขี้ผึ้ง ตะลุ่ม กระจาดเครื่องกัณฑ์เทศน์
งานสลักกระดาษประดับเครื่องตกแต่ง ได้แก่ ม่าน ฉาก หน้าบันพลับพลา เพดานปรำ
งานสลักกระดาษประดับเครื่องศพ ได้แก่ ประดับลูกโกศ เมรุราษฎร พระเมรุของหลวง จิตกาธาน เป็นต้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 8 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
สุธรรม (29-04-2010)