ดูแบบคำตอบเดียว
  #9  
เก่า 02-11-2015, 11:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,502
ได้ให้อนุโมทนา: 151,364
ได้รับอนุโมทนา 4,405,781 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ถาม : ผมสงสัยเกี่ยวกับบทสวดมนต์ที่มีในปัจจุบัน ไม่ว่าบททำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น บทสวดในงานบุญ บทสวดในงานศพ และบทอื่น ๆ บทสวดซึ่งมีจำนวนมาก บทสวดเหล่านี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลหรือไม่ครับ ?
ตอบ : ถ้าทำบุญงานศพอย่าง ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน เขาสวดอนัตตลักขณสูตรหรือไม่ก็อาทิตตปริยายสูตร บทสวดนี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว เพราะว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเอง แต่การมีมาไม่ได้หมายความว่าสมัยนั้นใช้สวดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น...ต้องแยกประเด็นให้ชัดก่อน อะไรที่เป็นคำสอนในพระไตรปิฎกส่วนมากมีมาแต่สมัยพุทธกาล ส่วนหนึ่งที่มีมาในรุ่นหลังแล้วระบุไว้ชัดเจนก็คือ กถาวัตถุของพระอภิธรรม ที่แต่งโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถรเจ้า

ถาม : หากบทสวดมีมาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล มีบทสวดอะไรบ้างครับ ? เพราะผมอ่านหนังสือธรรมะ ผมพบว่าพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเป็นคำพูดใช่หรือไม่ครับ ?
ตอบ : ใช่...ตัง กิง มัญญะถะ ภิกขะเว ดังนี้ภิกษุทั้งหลาย รูปัง นิจจัง วา อะนิจจัง วา รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง อะนิจจัง ภันเต ไม่เที่ยงขอรับ ยัมปะนานิจจัง ถ้าเป็นดังนั้น ทุกขัง วาตัง สุขัง วาติ เป็นสุขหรือทุกข์ ทุกขัง ภันเต เป็น ทุกข์ขอรับ

ท่านสอนอย่างนี้ แต่เราเอามาท่องกันเอง ที่เราเอามาท่องกันนั้นเพื่อความทรงจำได้ง่าย จะได้บอกต่อกันได้ถูกต้อง สอนต่อกันโดยไม่ผิดพลาด ดังนั้น...บทสวดที่เรามาสาธยายกันทีหลังนี้ เริ่มตั้งแต่สมัยสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑

คำว่า สังคีติ ก็คือ ร้อยกรอง หรือสวดสาธยายนั่นเอง เป็นการสวดสาธยายและตรวจสอบกันในระหว่างพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ รูป ซึ่งถ้านับกันแล้วก็คือ สุดยอดนักวิชาการในสมัยนั้น ว่ามีข้อไหนผิดพลาดบ้าง ถ้าไม่ผิดพลาด ทุกท่านยืนยันว่าใช่ ก็สวดสาธยายขึ้นพร้อมกัน เพื่อให้ทราบว่าเนื้อหาที่ถูกต้องคืออะไร พอมาสมัยหลังเป็นการทรงจำในลักษณะของมุขปาฐะ คือ สวดปากเปล่าสืบต่อ ๆ กันมา

จนกระทั่งถึงยุคกลางของการสังคายนาพระไตรปิฎก ก็คือ ครั้งที่ ๕ ที่ศรีลังกา บรรดาพระเถระสมัยนั้นเห็นว่า ความจำของคนเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ อาจจะหลงลืมได้ จึงให้จารึกลงในใบลานเป็นอักษร เขียนแล้วใส่ตะกร้าแยกออกเป็นสามหมวด จึงเรียกว่า ไตรปิฎก คือ สามตะกร้า หลังจากนั้นพอเรานำบทสวดต่าง ๆ มาสวดสาธยาย มีบางท่านเห็นว่าบทสวดต่าง ๆ นี้มีอานุภาพจึงนำมากำหนดเป็นบทสวด ๗ ตำนานบ้าง ๑๒ ตำนานบ้าง แล้วก็ใช้สวดเป็นประเพณีสืบ ๆ กันมา


ถาม : บทสวดมนต์เหล่านี้มีที่มาได้อย่างไร ? ใครแต่งขึ้น ? และตอนทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น พระท่านในสมัยพุทธกาลต้องทำวัตรเหมือนสมัยนี้หรือไม่ครับ ?
ตอบ : สมัยนั้นเขาใช้วิธีเจริญกรรมฐานหรือนั่งสนทนาธรรมกัน พอมาสมัยหลังการประพฤติปฏิบัติน้อยลง จึงต้องบังคับโดยการให้นั่งท่องหนังสือ หรือทรงจำกันโดยการสวดสาธยาย กลายเป็นการทำวัตรเช้า - ทำวัตรเย็นขึ้นมา ส่วนการที่สงสัยว่าบทไหนใครเป็นคนสวด ให้ยกมาทีละบทแล้วจะบอกให้ เพราะอย่างบท "โย จักขุมาฯ" ก็แต่งโดยในหลวงรัชกาลที่ ๔ ถ้า "ชินบัญชรคาถา" ก็ชำระขึ้นใหม่โดยหลวงพ่อโต วัดระฆัง เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-11-2015 เมื่อ 13:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 226 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา