ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 26-01-2010, 18:13
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,575
ได้ให้อนุโมทนา: 151,708
ได้รับอนุโมทนา 4,411,095 ครั้ง ใน 34,165 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ขณะเดียวกันในส่วนของอินทรีย์ ๕ และพละ ๕ นั้น เราปฏิบัติภาวนาเพราะเรามีศรัทธา ความเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราปฏิบัติภาวนาเพราะเรามีปัญญา รู้เห็นว่าสิ่งนี้เป็นของดี ถ้าหากเราทำ โอกาสที่จะเข้าถึงความหลุดพ้นก็มีขึ้น เราจึงทำ ในส่วนวิริยะความเพียรนั้น ก็เหมือนในส่วนวิริยะของอิทธิบาท ๔ ส่วนของสมาธินั้นจะทรงตัวหรือไม่ทรงตัว เป็นเรื่องของผลที่จะเกิด เรามีหน้าที่ภาวนา

ถ้าเป็นดังนี้ เพียงการจับลมหายใจเข้าออกของเราเท่านั้น ก็จัดว่าเราทำในสัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ รวมแล้ว ๑๘ อย่างด้วยกันโดยพร้อมเพรียงกัน ก็แปลว่าการปฏิบัตินั้น เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตาม ธรรมะทั้งหลายเหล่านี้ก็รวมลงในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ได้ทั้งสิ้น

ดังนั้น..หน้าที่สำคัญของเรา คือ รู้ลมหายใจเข้าออก รู้คำภาวนา รู้ภาพพระของเรา โดยเฉพาะกำหนดจุดสุดท้าย ว่าขึ้นชื่อว่าร่างกายที่หาความเที่ยงแท้ไม่ได้นี้ หรือว่าโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้ เราไม่ต้องการ เราต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพาน

แล้วเอาใจจดจ่ออยู่กับพระนิพพาน หรือภาพพระเอาไว้ กำหนดภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัว จากนั้นแบ่งความรู้สึกออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งรักษาภาพพระ รักษาคำภาวนาของเราไว้ อีกส่วนหนึ่งก็ใช้ในการทำหน้าที่ของเรา จะเป็นการทำงานทำการก็ดี ปฏิบัติกิจในการยืน เดิน นอน นั่ง ดื่ม กิน คิด พูด ทำ ก็ดี ก็จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ ไปพร้อมกับการรักษาการภาวนาไปได้ด้วยเช่นกัน


พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านอนุสาวรีย์
วันเสาร์ที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๓
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 27-01-2010 เมื่อ 05:17
สมาชิก 42 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา