ดูแบบคำตอบเดียว
  #12  
เก่า 06-07-2016, 13:32
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เพิ่งจะมามีชัดเจน ก็คือ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีการสร้างพระหูช้าง พระหูไห แต่ก็ไม่ได้สร้างเพื่อให้คนพกติดตัวเพราะว่าองค์ใหญ่ ท่านสร้างเพื่อเอาไว้ป้องกันช้างป้องกันม้า ให้หลวงปู่หลวงพ่อครูบาอาจารย์ช่วยเสกเป่าให้เกิดความอยู่ยงคงกระพัน ป้องกันอาวุธจากข้าศึกที่จะมาทำร้ายพาหนะ เสร็จแล้วก็ไปแขวนคอช้าง แขวนคอม้า เขาก็เรียกพระหูช้างบ้าง พระหูไหบ้าง เพราะสมัยก่อนไหจะมีหูไว้ให้เชือกโยง ๒ มุมบ้าง ๔ มุมบ้าง แล้วก็เอาไม้คาดสอดหามไป

มาที่ปรากฏเด่นชัดเลยก็สมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงอาราธนาพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ องค์หนึ่งไปออกรบ
ด้วยทุกครั้ง และไม่เคยรบแพ้ใคร ก็เลยเรียกว่าพระชัยหลังช้าง กระทั่งสมัยสงครามโลกครั้ง ๒ มีการสร้างพระเป็นจำนวนมากเพื่อแจกให้กับทหารที่ออกรบ พอรบเสร็จเขาก็เอากลับไปถวายวัด บางวัดอย่างวัดโพธิ์นี่กองพะเนินเลย เพราะว่าทหารออกรบทีหนึ่งหลาย ๆ กองพล ส่วนที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของเขาทั้งหลายเหล่านั้นจึงเป็นพวกเครื่องรางของขลัง ไม่ว่าจะเป็นของขลังธรรมชาติพวกค พวกทนสิทธิ์ต่าง ๆ หรือว่าเป็นของขลังที่ครูบาอาจารย์ทำให้ จะเป็นตะกรุด พิสมร ลูกอม ผ้ายันต์ รอยสัก เสื้อยันต์ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จึงเป็นสิ่งเขาเก็บติดเอาไว้รักษาตัว รักษาบ้าน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 06-07-2016 เมื่อ 14:08
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 113 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา