ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 21-02-2012, 15:02
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,610
ได้ให้อนุโมทนา: 151,798
ได้รับอนุโมทนา 4,412,752 ครั้ง ใน 34,200 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

บุคคลที่เป็นนักปฏิบัติธรรมอย่างพวกเรา เมื่อกระทบกับโลกธรรมทั้งหลายเหล่านี้แล้ว จำเป็นที่จะต้องอาศัยกำลังของสมาธิภาวนาเข้ามาต่อสู้ มาหยุดยั้งสภาพจิตของตนเอง ไม่ให้ยินดียินร้ายไปกับเหตุการณ์เหล่านั้น และท้ายสุด..หากว่ามีปัญญาเพียงพอ ก็จะสามารถเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นธรรมดาของโลก เมื่อเห็นว่าเป็นธรรมดาของโลกก็จะค่อย ๆ ปล่อยวาง ไม่ไปยินดียินร้ายกับสิ่งเหล่านี้อีก โลกธรรมทั้งหลายก็ไม่สามารถที่จะครอบงำเราได้

ความน่ากลัวของโลกธรรมนั้นก็คือ ทั้ง ๒ ส่วนล้วนแต่เป็นรากเหง้าของกิเลสใหญ่ ก็คือเป็นส่วนของราคะ หมายรวมเอาโลภะไปด้วย และส่วนของโทสะ ทั้ง ๒ ส่วนนี้ ไม่ว่าจะเป็นราคะหรือโทสะก็ตาม แปลว่าต้องมีโมหะอยู่ด้วย เพราะถ้าไม่มีโมหะคือความหลงผิด เราก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ไปยินดียินร้ายในอารมณ์ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้น

เมื่อเราเห็นดังนี้แล้ว ก็ต้องพยายามปลีกตัวออกมา โดยการสร้างเกราะป้องกันตนเอง ด้วยกำลังของศีล ของสมาธิ ของปัญญานั่นเอง ถ้าหากว่าศีลของเราทรงตัว สมาธิก็ตั้งมั่นได้ง่าย เมื่อศีลทรงตัวและสมาธิตั้งมั่นแล้ว ย่อมมีปัญญาเห็นทุกข์เห็นโทษจากรากเหง้าใหญ่ของกิเลส ก็จะพยายามถอดถอน ปลด วาง ออกจากใจของเรา ถ้าหากว่าใครปลดได้ วางได้มากเท่าไร ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มากเท่าไร ความสุขที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้นกับเรามากเท่านั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 21-02-2012 เมื่อ 15:40
สมาชิก 59 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา