ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 24-10-2012, 20:33
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,526
ได้ให้อนุโมทนา: 151,473
ได้รับอนุโมทนา 4,406,347 ครั้ง ใน 34,116 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ดังนั้น..ในการภาวนาทุกครั้ง นิวรณ์เหล่านี้มารบกวน เพราะไม่ต้องการให้กำลังใจของเราทรงตัว การรบกวนก็จะชักพาให้เราฟุ้งซ่านไปในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ความโกรธ เกลียด อาฆาตแค้นคนนั้น คนนี้ ความง่วงเหงาหาวนอน ความขี้เกียจปฏิบัติ เอาแต่ผัดวันประกันพรุ่ง หรือว่าหงุดหงิดกลัดกลุ้ม เดือดร้อนรำคาญใจ และท้ายที่สุดก็ชักนำให้ลังเลสงสัย ว่าปฏิบัติแล้วได้ผลจริงหรือ ?

สิ่งเหล่านี้เป็นกิเลสหยาบ เห็นได้ชัด และขัดขวางเราทุกครั้งที่ปฏิบัติ เราจึงจำเป็นที่จะต้องเอาสติและสมาธิทั้งหมด จดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกของเรา ให้เอาความรู้สึกทั้งหมดแนบแน่นชิดติดกับลมหายใจ ไหลตามลมเข้าไป ไหลตามลมออกมา อย่าเผลอปล่อยเป็นอันขาด ถ้าเผลอสติปล่อยจากลมหายใจ ปล่อยจากคำภาวนา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะแทรกเข้ามาทันที

แรก ๆ จะต้องใช้ความพยายามมากกว่าที่จะก้าวพ้นไปได้ แต่พอพ้นไปแล้ว เกิดความคล่องตัว เกิดความชินในระดับอารมณ์ที่พ้นจากนิวรณ์ ถึงเวลาตั้งใจภาวนา ระดับสมาธิก็จะกระโดดเข้าไปสู่ระดับที่พ้นจากนิวรณ์ไปได้ทันที

ถ้าเป็นเช่นนั้นสภาพจิตของเราก็จะผ่องใส สงบ มั่นคง มีกำลังเพียงพอที่จะใช้ในการตัดกิเลสระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับหยาบ ๆ อย่างพระโสดาบันขึ้นไป ก็คือ การที่เราต้องเคารพในพระพุทธเจ้าจริง ๆ เคารพพระธรรมจริง ๆ เคารพพระสงฆ์จริง ๆ ไม่ล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้าสมาธิของเราไม่ทรงตัว ก็จะมีการพลั้งเผลอผิดพลาดได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-10-2012 เมื่อ 02:42
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 61 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา