ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 29-01-2024, 01:19
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,603
ได้ให้อนุโมทนา: 151,769
ได้รับอนุโมทนา 4,412,281 ครั้ง ใน 34,193 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ตรงนี้เราต้องทำความเข้าใจกันหลายประเด็น ประเด็นแรกก็คือ สมัยพุทธกาลหรือว่าสมัยต่อ ๆ มาอีกระยะหนึ่ง เขาถือว่าการยืนเป็นการแสดงความเคารพ แต่ในสมัยปัจจุบันของเรานั้น การนั่ง โดยเฉพาะนั่งพับเพียบ ถือว่าเป็นการแสดงความเคารพ ดังนั้น..ถ้าภิกษุยืนอยู่ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่ในปัจจุบันนี้ ไม่ถือว่าญาติโยมไม่แสดงความเคารพ

ข้อต่อไปก็คือ
การแสดงธรรมกับการให้พรนั้นต่างกันมาก การแสดงธรรมก็คือบอกกล่าวถึงหลักการประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดี ๆ แก่บุคคลนั้น ๆ ส่วนการให้พร คือการตั้งเจตนาไว้ว่า ขอให้บังเกิดสิ่งที่ดี ๆ ขึ้นในชีวิตของบุคคลนั้น ต่างกันมากนะครับ แล้วคราวนี้คณะสงฆ์อำเภอนั้นพิจารณาจากตรงไหนว่าเป็นการแสดงธรรม ไม่ใช่การให้พร ? ก็คือตรงจุดที่บาลีกล่าวว่า

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง บุคคลผู้มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ทรงศีล

วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ ย่อมเป็นบุคคลผู้เจริญด้วยธรรม ๔ ประการ

อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ก็คือ มีอายุยืน มีวรรณะสูง มีความสุข มีกำลัง

อยากจะเรียนถามทุกท่านว่า "แปลออกกี่ท่านครับ ?" นี่ขนาดเราเป็นพระเป็นเณรนะครับ มีกี่ท่านที่แปลออก ? ถ้าหากว่าเรียนบาลี แค่ประโยค ๑ - ๒ ไม่ถึงประโยค ๓ นี่ บางทียังแปลไม่ออกเลยนะครับ
ในเมื่อแปลไม่ออก ฟังไม่เข้าใจ ถือว่าเป็นการแสดงธรรมได้ไหมครับ ? ไม่ถือว่าเป็นการแสดงธรรมนะครับ ญาติโยมที่ไม่เข้าใจก็ยกมือสาธุ รับเป็นพรขลัง ๆ ไป เพราะว่าเป็นภาษาบาลีเท่านั้น

ประการต่อไปก็คือ ผู้ที่ให้พรก็ไม่แน่ว่าจะให้พรบทนี้ทุกครั้ง อย่างกระผม/อาตมภาพเอง ถึงเวลาก็ "อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ" ก็คือ ขอความสำเร็จตามที่เธอปรารถนา จงบังเกิดขึ้นโดยพลัน นั่นใช่การแสดงธรรมไหมครับ ? นี่คือการให้พร หรือไม่ก็ตัดแค่ "อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง" ขอให้เป็นผู้เจริญด้วยอายุ เจริญด้วยวรรณะ มีความสุข มีกำลัง ไม่ใช่การแสดงธรรมนะครับ

ประการต่อไปครับ พระของเราต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยแน่นอน แล้วนอกจากนั้นเรายังมีกฎหมายบ้านเมืองที่ต้องปฏิบัติตาม นี่เป็นคำสั่งพระพุทธเจ้าเลยนะครับ ก็คือ "อนุชานามิ ภิกฺขเว ราชูนํ อนุวตฺติตุํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราให้เธอทั้งหลายคล้อยตามต่อพระราชา" คำว่าพระราชาในโบราณก็คือกฎหมายนะครับ เพราะว่าท่านบอกให้เป็นก็เป็น บอกให้ตายก็ตาย การคล้อยตามพระราชา คือคล้อยตามพระราชประสงค์ คือคล้อยตามกฎหมายนั่นเอง

ในปัจจุบันของเรานี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้กฎหมายผ่านตุลาการ ก็คือพระราชอำนาจของพระองค์แบ่งออกเป็น ด้านการปกครองก็คือผ่านรัฐสภา ด้านกฎหมายบ้านเมืองก็ผ่านทางตุลาการ ในเมื่อ
เรามีศีลที่ต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย มีกฎหมายบ้านเมืองที่ต้องประพฤติปฏิบัติตามแล้ว เรายังมีจารีตประเพณีที่ต้องทำตามอีกด้วยนะครับ เพราะว่าส่วนใหญ่เขาทำกันอย่างนั้น จนกลายเป็นข้อยึดถือคือจารีตไปแล้ว

ในเรื่องของจารีตประเพณี เป็นเรื่องสำคัญมาก อย่างเช่นการแสดงออกซึ่งการเคารพพระ มีตั้งแต่ อัญชลี (พนมมือ) วันทา (น้อมไหว้) อภิวาท (กราบลง) ทำต่างจากนี้เมื่อไร เขาจะว่าเราไม่เคารพ..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 29-01-2024 เมื่อ 03:52
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 21 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา