ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 25-01-2010, 11:46
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,566
ได้ให้อนุโมทนา: 151,678
ได้รับอนุโมทนา 4,410,824 ครั้ง ใน 34,156 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ในส่วนถัดไปนั้น อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ มีหน้าตาเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่ว่าอินทรีย์ ๕ นั้น เป็นการสั่งสมความดีจาก ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญา เอาไว้ ส่วนพละ ๕ นั้น เป็นการนำกำลังที่สั่งสมไว้นั้น ไปใช้งานในสถานการณ์ที่แท้จริง

ศรัทธา คือความเชื่อ อย่างเช่นว่า เชื่อในการกระทำ คือ เชื่อกรรม เชื่อในผลของการกระทำ คือ เชื่อในวิบากกรรม เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เหล่านี้เป็นต้น วิริยะ คือ ความพากเพียรในการที่จะปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ไม่เบื่อหน่าย ไม่ท้อถอย สติ คือ กำลังใจที่ทรงตัว รู้ตัวอยู่เสมอ ว่าตอนนี้เราเป็นอะไร เราทำอะไร ทำเพื่ออะไร สมาธิ คือ กำลังใจที่ทรงตัวตั้งมั่น สามารถป้องกันไม่ให้กิเลสต่าง ๆ เข้ามากินใจของเราได้ และปัญญา การรู้แจ้งเห็นจริง ตามสภาพความเป็นจริงของร่างกายของเราก็ดี ร่างกายคนอื่นก็ดี วัตถุธาตุทั้งหลายในโลกนี้ก็ดี ว่ามีสภาพความเป็นจริงอยู่สามอย่าง คือ ไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑ ไม่มีอะไรที่ยึดถือมั่นหมายเป็นเราเป็นของเราได้ ๑

โบราณาจารย์ ท่านเปรียบอินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕ ไว้ว่า เหมือนกับรถม้า ที่เทียมด้วยม้า ๔ ตัว ม้าคู่แรกคือศรัทธากับปัญญา ม้าคู่ที่สอง คือ วิริยะกับสมาธิ โดยมีสติ เปรียบเหมือนตัวรถและคนขับรถ เมื่อมีสติควบคุม ศรัทธา..ปัญญา..วิริยะ...สมาธิ เป็นเครื่องนำรถม้านั้นไปสู่จุดหมาย ถ้าเรานึกถึงภาพรถเทียมม้าสี่ตัว คือ สองคู่ ก็จะเห็นภาพได้ชัดขึ้น

ท่านบอกว่า ศรัทธากับปัญญาต้องเสมอกัน ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะเชื่ออย่างงมงาย ไม่มีปัญญาคอยประกอบ โดนล่อลวงให้หลงผิดได้ง่าย วิริยะกับสมาธินั้นก็ต้องเสมอกัน พอเหมาะพอดีกัน ความเพียรมากเกินไปก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค ความเพียรย่อหย่อนเกินไปก็เป็น กามสุขัลลิกานุโยค

อัตตกิลมถานุโยค คือ การทรมานตนให้ลำบากจนเกินไป อย่างเช่นว่า อาจจะทำสมาธิทั้งวันทั้งคืนโดยไม่พักผ่อนเลย กามสุขัลลิกานุโยค คือ การที่ยังประกอบอยู่ด้วยกาม คือ ติดสบายจนเกินเหตุ อย่างเช่นว่า อาจจะนอนทั้งวันทั้งคืนโดยไม่ทำสมาธิเลย เมื่อเป็นดังนั้น ท่านจึงให้ทำในส่วนที่พอเหมาะพอดี เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลาง ถ้าหากทำพอเหมาะพอดี สมาธิก็จะทรงตัวตั้งมั่นได้เร็ว

โดยเฉพาะท่านทั้งหลายที่ทำสมาธิภาวนา มักจะอยากได้ฌานนั้นฌานนี้ อยากจะได้ทิพจักขุญาณอย่างนั้นอย่างนี้ อยากจะได้อภิญญาอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้ากำลังใจของเรายังทรงความอยากเช่นนี้อยู่ โอกาสที่จะได้ดีก็มีน้อย เพราะว่าตัวอยากเป็นอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นความฟุ้งซ่าน ทำให้รำคาญใจเมื่อไม่ได้อย่างใจ

ถ้าถามว่าในเมื่อไม่อยากแล้วจะปฏิบัติไปทำไม ? ไม่ใช่ว่าไม่อยาก...อยากได้ แต่เมื่อถึงเวลา ตอนปฏิบัติให้ลืมความอยากเสีย ให้เราตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างเดียว โดยทำใจในลักษณะว่าเรามีหน้าที่ภาวนา เราก็ภาวนาไป ส่วนผลจะเกิดหรือไม่เกิด จะเป็นฌานหรือไม่เป็นฌาน จะทรงอภิญญาหรือไม่ทรงอภิญญา เราไม่ใส่ใจ ถ้าทำอย่างนี้ได้ สมาธิจะทรงตัวตั้งมั่นได้เร็ว
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 25-01-2010 เมื่อ 18:42
สมาชิก 58 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา