ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 22-01-2009, 14:12
ทิดตู่ ทิดตู่ is offline
สมาชิกยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 168
ได้ให้อนุโมทนา: 27,852
ได้รับอนุโมทนา 47,493 ครั้ง ใน 1,464 โพสต์
ทิดตู่ is on a distinguished road
Default

ไม่รู้จะขยายความอย่างไรครับ หลวงปู่ท่านอธิบายได้ตรงมากแล้วครับ แต่ถ้าติดตรงบาลี โกสัชชะ ก็แปลว่า ความขี้เกียจ ธัมมวิจยะ ก็แปลว่า การใคร่ครวญในธรรม ปิติสัมโพชฌงค์ก็แปลว่า ความอิ่มใจในธรรมอันเป็นองค์ตรัสรู้ ปัสสัทธิ ก็แปลว่า ความสงบ สมาธิ อุเปกขาสัมโพชฌงค์ ก็แปลว่า ความวางเฉยจากการตั้งใจมั่นในธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้ (จริง ๆ อันนี้ก็น่าจะแปลกันได้นะครับ) คือ ที่ผมได้ความรู้จากข้อธรรมข้อนี้ อย่างหนึ่งก็คือเห็นว่า เวลาขี้เกียจควรจะพิจารณาในธรรมอันทำให้จิตใจเกิดความอิ่มใจ สว่างโพลง มีความรื่นเริงในธรรม เหมือนโยนกองฟางแห้งลงไปในกองไฟ แล้วเป่าลมให้ไฟมันลุกโชน เวลาที่ฟุ้งซ่านจนเกินไปก็ใช้ธรรมอันเป็นเครื่องสงบใจในด้านต่าง มีอานาปานุสสติ เป็นต้น เข้าไปสงบไว้ เหมือนโยนกองฟางสดเข้าไปเพื่อเป็นการดับไฟกองนั้น สรุปทั้งขี้เกียจ ทั้งฟุ้งซ่าน ก็ใช้ข้อธรรมในโพชฌงค์ ๗ ประการมาเป็นหลักในการปฏิบัติได้ทั้งนั้น สมกับเป็นธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้โดยแท้ครับ

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-02-2019 เมื่อ 02:58
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ทิดตู่ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา