ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 27-10-2011, 10:35
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

๗. “จับหลักวิปัสสนาญาณให้ได้ตามที่ท่านฤๅษีบอก การเจริญวิปัสสนาทุกครั้ง จำเป็นต้องพิจารณาให้เข้าถึงความเบื่อหน่ายในร่างกายทุกครั้ง จะมากจะน้อยก็ต้องพยายามให้เข้าถึง คือ ปฏิบัติให้เกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ อย่างจริงใจ วันละเล็ก วันละน้อย ไม่ช้ากำลังใจจักรวมตัว ก็จักสามารถตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้(อุบายในการพิจารณาทุกชนิดที่มีผลทำให้ตัดขันธ์ ๕ ได้ ว่ามันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จนเกิดอารมณ์เบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ อย่างจริงใจหรือนิพพิทาญาณแล้ว จัดว่าเป็นวิปัสสนาญาณทั้งสิ้น)

๘. “งานที่ทำอยู่ก็ทำไปตามปกติตามหน้าที่ แต่ให้ดูสุขภาพของร่างกายไปด้วย ให้เหมาะสม ไม่ตึงไปหรือเบียดเบียนกายมากไป ไม่หย่อนไปหรือขี้เกียจเกินไป ให้เดินสายกลางตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา โดยมีพรหมวิหาร ๔ เป็นหลักสำคัญในการควบคุม ให้ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริงไว้ด้วย และอย่าลืมความตาย ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง หมั่นซ้อมตาย และพร้อมที่จะตายได้ตลอดเวลาด้วยความไม่ประมาท (รู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน) ตั้งเข็มทิศของจิตจักไปพระนิพพานเอาไว้ให้มั่นคง พยายามทรงจิตในอุปสมานุสติให้มาก เพื่อความไม่ประมาทในชีวิต แล้วหมั่นพิจารณาธาตุ ๔ อาการ ๓๒ เข้าไว้ ให้จิตยอมรับสภาพของขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง และการเกาะอยู่ในอายตนะ ๑๒ ทั้งภายใน ๖ และภายนอก ๖ ที่แท้จริง ก็คือจิตอยู่ในอุปาทานขันธ์นั่นเอง ให้พยายามปลดตรงนี้ให้มาก

๙. “เรื่องการพิจารณาอารมณ์ของจิตตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจักต้องรู้ว่าอารมณ์อะไรเกิดขึ้นกับจิต และอารมณ์นั้นเกิดขึ้นได้เพราะสัญญาหรือปัญญา (สัญญาสมาธิหรือปัญญาสมาธิ) จุดนี้ทบทวนให้ดี จึงจักแยกแยะได้ถูกต้องว่า อารมณ์นั้นเป็นสัญญาหรือปัญญา ถ้าเป็นสัญญานึกขึ้นมาได้ ประเดี๋ยวก็ลืม ถ้าเป็นปัญญาจิตก็จักรู้อยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ปัญญามีความทรงตัว รอบรู้ในกองสังขาร (ของกายและจิต) อยู่ตลอด เห็นอะไรจิตน้อมยอมรับทันที ว่านี่เป็นกฎของธรรมดา จิตมันจักบอกตนอยู่อย่างนี้เสมอ จิตของผู้มีปัญญาจักเป็นจิตที่รู้เท่าทันความจริงในอริยสัจอยู่เสมอ พระอรหันต์ท่านทรงอธิปัญญาก็อยู่ที่ตรงนี้ หมั่นสำรวจใจให้ดี ๆ อย่าตรากตรำร่างกายมากเกินไป เหนื่อยก็ต้องให้ร่างกายพักผ่อน อย่าฝืนสังขารเพราะจักได้แต่ตัวทุกข์เท่านั้น ผลของการปฏิบัติจักได้น้อย พยายามหาทางพอดีให้ได้ทั้งทางจิตและทางกาย แล้วปฏิบัติตามนั้น จักได้ผลดีกว่าทรมานกายและจิตใจ จุดนี้ต้องหากันเอาเอง เพราะมัชฌิมาปฏิปทาของแต่ละคนไม่เท่ากัน ให้เป็นไปตามแต่ความเหมาะสมของแต่ละคน

๑๐. “การที่วางอารมณ์ราคะและปฏิฆะไม่ได้อย่างสนิทใจ ก็เพราะบกพร่องในกายคตานุสติและพรหมวิหาร ๔ จักต้องพิจารณาร่างกายให้มาก ๆ คำว่าให้มากก็จงสำรวมใจว่า มากจนกระทั่งจิตคลายความรักในร่างกายตนเอง เห็นร่างกายตนเองเป็นธาตุ ๔ กายคตา-อสุภะ อยู่ตลอดเวลาที่ระลึกนึกขึ้นมาได้ มีความเบื่อหน่ายและรังเกียจในร่างกายตนเองอยู่เสมอ นั่นแหละ จึงจักวางราคะได้ ปฏิฆะก็เช่นกัน ให้เจริญพรหมวิหาร ๔ ให้เมตตาจิตของตนเองให้มาก ๆ เห็นไฟโทสะเป็นความร้อนที่เป็นโทษอยู่ในจิตเสมอ ให้เห็นคุณคือความเย็นของพรหมวิหาร ๔ อย่างจริงใจ เมื่อนั้นแหละ จึงจักตัดปฏิฆะได้ หนทางอื่นที่จัดตัดได้นั้นไม่มี มีแต่ทางเดินไปอย่างนี้เท่านั้น จึงจักบรรลุมรรคผลได้”


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๙
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่ www.tangnipparn.com

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ลัก...ยิ้ม : 27-10-2011 เมื่อ 14:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 41 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา