ดูแบบคำตอบเดียว
  #180  
เก่า 30-01-2011, 23:00
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,634
ได้ให้อนุโมทนา: 151,878
ได้รับอนุโมทนา 4,414,678 ครั้ง ใน 34,224 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา ในเมื่อเกิดความรู้สึกชอบใจขึ้นมาก็คือกามตัณหา เลือกแต่ที่ตัวเองชอบก็เป็นภวตัณหา ผลักไสในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบก็เป็นวิภวตัณหา

ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง ในเมื่อมีความอยากทั้งดีและไม่ดี คำว่าอยากดี ก็คืออยากตามสภาพ อยากไม่ดี ก็คือไม่อยากเป็นไปตามนั้น ซึ่งก็คือความอยากนั่นเอง ทำให้เกิดอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น ยึดแล้วเกิดอะไร ? อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ก็เกิดภพคือที่เกิด พอยึดรากก็งอกลงไปแล้ว จึงต้องมีที่ให้เกิด

ภะวะปัจจะยา ชาติ ในเมื่อมีที่เกิด ก็ต้องเกิด ชาติปัจจะยา ชะรามะระณังโสกะปริเทวะทุกขโทมนัสสุปายาสา เกิดมาก็แก่ ทุกข์โศกร่ำไร เศร้าโศกเสียใจ ปรารถนาไม่สมหวัง กระทบกระทั่งไม่ชอบใจ เป็นต้น

ถ้าเราไล่ตามปฏิจจสมุปบาท เราจะเห็นชัดเจนเลยว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรามา เพราะความไม่รู้ของเรานั่นแหละ ทุกอย่างจึงได้เป็นอย่างในปัจจุบัน ขณะนี้เราก็ยังรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง และไม่รู้เสียมากกว่า เราก็จะไปสงสัยว่า ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนแล้วเราไม่รู้จักคิดเอง ? ก็เพราะว่าความมืดบอดของดวงปัญญายังมีมากอยู่ อวิชชายังบดบังอยู่ เราเสียท่ามาตั้งแต่ก่อนเกิดแล้ว จะไปคิดอะไรได้ทัน..!

ถาม : ถ้าตอนนี้เราเห็นว่า เกิดความอยากและไม่อยากเกิดขึ้น จำเป็นที่จะต้องสาวกลับขึ้นไปขนาดนั้นเลยหรือครับ ?
ตอบ : จะสาวกลับไปก็ได้ หรือไม่ก็พิจารณาให้เห็นว่าเป็นทุกข์เป็นโทษอย่างไร แล้วเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด จิตก็จะถอนออกมาเหมือนกัน ถ้าเราไม่ได้มาสายพุทธภูมิโดยตรง ไม่ต้องไปไล่รายละเอียดขนาดนั้นก็ได้

แค่คบร่างกายนี้ชาติเดียว ต่อไปไม่เอาอีกแล้วก็พอ นาน ๆ อาตมาถึงจะพูดของยากเสียที ปกติขี้เกียจอธิบาย
ปฏิจจสมุปบาท เพราะคนอธิบายเองก็ยังเข้าใจไม่ชัดเลย..!
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 09-02-2011 เมื่อ 20:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 120 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา