ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 13-05-2010, 13:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,451
ได้ให้อนุโมทนา: 151,086
ได้รับอนุโมทนา 4,400,034 ครั้ง ใน 34,040 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจเช่นนั้น พร้อมกับภาวนาต่อไป จากที่หูเราได้ยินเสียงตามปกติ แต่ไม่รู้สึกรำคาญ ก็จะกลายเป็นว่าได้ยินเสียงนั้นเบาลง พร้อมกับลมหายใจเข้าออกซึ่งเบาลงไปด้วย บางท่านที่จิตหยาบหน่อยอาจจะไม่ได้ยินเสียง หรือไม่รู้ถึงลมหายใจเข้าออกเลย เหลือแค่คำภาวนาอย่างเดียวก็เป็นได้ ถ้าอย่างนั้นแสดงว่าจิตของท่านกำลังดำเนินสู่สมาธิในระดับทุติยฌานคือฌานที่ ๒ เป็นความตั้งมั่นในระดับที่สองของกำลังใจของเรา

เมื่อกำหนดรู้ต่อไป คือ ถ้าไม่มีลมหายใจก็รู้ว่าไม่มีลมหายใจ ไม่มีคำภาวนาก็กำหนดรู้ว่าไม่มีคำภาวนา ไม่ไปตกอกตกใจจนย้อนกลับมาภาวนาใหม่ ซึ่งเป็นการย้อนกำลังใจของเราลงมาสู่สมาธิที่ต่ำกว่า ถ้าเรากำหนดรู้ไปเฉย ๆ ว่า ตอนนี้ไม่หายใจ ตอนนี้ไม่ภาวนา หรือถ้าไม่รู้ลมหายใจ ไม่รู้ถึงคำภาวนา รับรู้เฉพาะกำลังจิตที่เกาะนิ่งอยู่จุดใดจุดหนึ่งก็ได้เหมือนกัน

ถ้าทำไปสักระยะหนึ่ง กำหนดรู้สักระยะหนึ่ง ก็จะเกิดร่างกายรู้สึกตึงแน่นขึ้นมา บางท่านก็รู้สึกว่าเหมือนโดนสาปให้กลายเป็นหิน บางท่านก็รู้สึกตัวตึงขึ้นมาเรื่อย ๆ เหมือนมีใครเอาเชือกมามัดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า บางท่านก็รู้สึกเย็นอยู่เฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง อย่างเช่น อาจจะเป็นปลายจมูก ริมฝีปาก หรือบริเวณตั้งแต่จมูก ปาก และคางด้วย

ความรู้สึกจดจ่อนิ่งอยู่เฉพาะจุดอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาการที่เหมือนถูกสาปให้เป็นหินก็ดี ความรู้สึกตึงแน่นไปทั้งตัวเหมือนโดนใครมัดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าก็ดี หรือความรู้สึกเย็นแข็งอยู่เฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายก็ดี นั่นเป็นการก้าวเข้าสู่อัปปนาสมาธิในระดับตติยฌานคือฌานที่ ๓ เป็นกำลังใจที่ทรงตัวอยู่ในระดับที่สาม

ถ้าเราสักแต่ว่ากำหนดรู้อย่างนั้นต่อไป โดยไม่ไปใส่ใจนึกคิดปรุงแต่ง ไม่ได้อยากไปหายใจ และขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้อยากให้อาการเหล่านี้คลายตัวหายไป กำหนดแค่รู้ไปเรื่อย ความรู้สึกทั้งหมดก็จะรวบเข้ามาอยู่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะตรงหน้าก็ได้ ภายในศีรษะก็ได้ ภายในอกก็ได้ ภายในท้องก็ได้ จุดใดจุดหนึ่ง จะสว่างโพลง นิ่ง เยือกเย็นอยู่อย่างนั้น ถ้าลักษณะอย่างนั้น ก็แปลว่าจิตของเราดิ่งลงสู่อัปปนาสมาธิในระดับที่สี่ คือ จตุตถฌานคือฌานที่ ๔ ถ้าถึงเวลานั้นหูจะไม่รับรู้เสียงภายนอกโดยสิ้นเชิง ลมหายใจพร้อมกับคำภาวนาก็ไม่มี เหลือแต่สภาพจิตที่นิ่ง โพลง ใสสะอาดอยู่อย่างนั้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 13-05-2010 เมื่อ 14:46
สมาชิก 52 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา