ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 23-03-2016, 19:31
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,510
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,961 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การระลึกนึกถึงนั้นทำได้ ๒ แบบ แบบแรก ก็คือ การใช้เป็นคำภาวนาควบกับลมหายใจเข้าออก ก็คือ ‘เกสา โลมา นะขา ทันตา ตโจ... เกสา โลมา นะขา ทันตา ตโจ ...’ ดังนี้ไปเรื่อย ๆ ตามจังหวะลมหายใจเข้าออก แบบนี้เรียกว่าเป็น สมถกรรมฐาน คือกรรมฐานที่ทำให้ใจสงบโดยตรง

ถ้ารู้สึกว่าการภาวนาแบบนี้สติน้อยเกินไป โบราณาจารย์ก็ให้ภาวนาถอยหลัง ก็คือ ‘ตโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา... ตโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา’ ก็จะจำยากขึ้น ทำให้สติของเราสมบูรณ์ขึ้น เพราะถ้าเผลอก็จะผิด นี่เป็นลักษณะของการปฏิบัติที่เป็นสมถกรรมฐานล้วน ๆ

แต่ถ้าจะเอาวิปัสสนากรรมฐานมาควบก็ต้องมองให้เห็นว่าสิ่งทั้ง ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้ ไม่ว่าจะเป็นสัณฐาน ไม่ว่าจะเป็นรูปทรง ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ ไม่ว่าจะเป็นสภาพ มีความสกปรกเป็นปกติ

อย่างเช่นว่า เส้นผมของเราสกปรกตามสภาพอย่างไร ? ต่อให้สระผมมาอย่างสะอาดเอี่ยม ถ้าผมเส้นหนึ่งตกลงไปในอาหาร ก็ไม่มีใครกล้ากิน ก็แปลว่าเส้นผมนั้นสกปรกโดยสภาพอยู่แล้ว พิจารณาให้เห็นจริงลักษณะอย่างนี้ ยังเป็นส่วนของสมถกรรมฐาน คือใจจะสงบ เพราะเห็นสภาพความสกปรกเป็นปกติ ขนทั่วตัวเราก็เหมือนกัน ถึงเวลาก็เปื้อนเหงื่อไคล มีความสกปรกโสโครกเป็นปกติ

เล็บ...ถ้าหากว่าไม่แคะ ไม่ทำความสะอาด ไม่ตัด แค่ไม่กี่วันก็สกปรกดูไม่ได้ ฟัน...ไม่แปรงแค่วันเดียวก็ทนไม่ได้แล้ว หนัง... ไม่อาบน้ำหนึ่งวันตัวเรายังทนไม่ได้ ไม่ต้องไปคิดถึงคนอื่น

การเห็นความสกปรกอย่างชัดเจนนี้ยังเป็นส่วนของสมถกรรมฐานอยู่เต็ม ๆ ก็คือทำให้ใจเราสงบระงับเพราะเห็นความสกปรกเป็นปกติ ร่างกายเรายังสกปรกอย่างนี้ ร่างกายคนอื่นก็สกปรกอย่างนี้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 24-03-2016 เมื่อ 03:30
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา