ดูแบบคำตอบเดียว
  #9  
เก่า 22-10-2012, 10:28
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,554 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

นอกจากนั้น ท่านหญิงไม่เคยแสดงอารมณ์ใด ๆ ที่ไม่พอใจต่อผู้ก่อการร้ายเลยแม้แต่น้อย ทรงให้อภัยทานอยู่เป็นปกติ ด้วยบารมี ๑๐ ครบถ้วนบริบูรณ์ จากทานบารมี-ศีล-เนกขัมมะ-ปัญญา-วิริยะ-ขันติ-สัจจะ-อธิษฐาน-เมตตา และอุเบกขาบารมี ขอให้ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตาม (ธัมมวิจยะ) บารมี ๑๐ ดูแล้วจะเข้าใจเอง ดีกว่าให้ผู้อื่นมาเป็นผู้บอกให้ฟังพันเท่า หรือหมื่นเท่าทีเดียว

เมื่อเข้าใจด้วยตนเองแล้ว จึงจะเข้าใจในอารมณ์ช่างมัน หรืออารมณ์อุเบกขา หรืออารมณ์สังขารุเบกขาญาณได้ว่ามันเป็นอารมณ์เดียวกัน แต่มันมีได้ตั้งแต่หยาบ ๆ มาหาชั้นกลาง และละเอียดตามลำดับ และยังเห็นได้ชัดว่า บางคน บางวันก็มีอารมณ์ช่างมัน แต่บางวันกลายเป็นอารมณ์ช่างเผือกไปก็มีอยู่ไม่น้อย

ทั้งนี้เพราะอารมณ์นี้ขึ้นอยู่กับศีลเป็นสำคัญ หากศีลยังไม่เป็นศีล เต็มบ้าง ไม่เต็มบ้าง (ศีล น้ำขึ้นน้ำลง หรือโลกียศีล) อารมณ์ยังขึ้น ๆ ลง ๆ ตามศีล แต่หากศีลของผู้ใดเป็นอัตโนมัติแล้ว หรือมีสีลานุสติอยู่กับใจตลอดเวลา หรือโลกุตรศีล หรือศีลของพระอริยเบื้องต้น หรือศีลของพระโสดาบันนั่นเอง ซึ่งเป็นอธิศีลจะไม่มีคำว่าเผลอ ไม่มีคำว่าขาดอีกต่อไป บุคคลเหล่านี้แหละ จึงจะมีอารมณ์ช่างมันจริง

แม้จะมีอะไรมากระทบก็ทรงอยู่ได้ แต่หากกระทบแรง ๆ ย่อมมีความหวั่นไหวในตอนแรกเป็นธรรมดา แต่ท่านก็สามารถปรับอารมณ์ของตนเองได้ หรือช่วยตัวเองได้ เอาตัวเองรอดได้ในเวลาไม่นาน (ตามบารมีที่ท่านอยู่ในขณะนั้น) ผู้ที่หมดความหวั่นไหวเมื่อถูกกระทบคือ พระอรหันต์เท่านั้น

สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความหวั่นไหว ก็คือศีลอีกนั่นแหละ แม้ศีลจะเป็นอธิศีลก็ตาม แต่ยังไม่ละเอียดพอ พระพุทธองค์จึงให้ใช้กรรมบถ ๑๐ คุมอารมณ์จิตต่อไป จากกรรมบถ ๑๐ พระองค์ทรงให้ใช้เทวธรรมและพรหมวิหาร ๔ คุมอารมณ์จิต ไม่ให้เกิดอารมณ์พอใจ หรืออารมณ์ยินดีด้วยในกามฉันทะและปฏิฆะ โดยใช้สังโยชน์ ๑๐ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 75 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา