ดูแบบคำตอบเดียว
  #77  
เก่า 17-08-2010, 14:10
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,619
ได้ให้อนุโมทนา: 151,818
ได้รับอนุโมทนา 4,413,356 ครั้ง ใน 34,209 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กล่าวให้ฟังว่า "สมัยก่อนเวลาเด็กตกใจหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ตกใจ เขาเชื่อว่า "ขวัญ" หรือ "มิ่งขวัญ" ประจำตัวจะเตลิดหนี ถึงเวลาก็ต้องไปทำพิธีเรียกขวัญ มีการนำกระด้งไปตักด้วย มีการฟ้อนรำเรียกขวัญด้วย

เมื่อเชิญขวัญกลับมาสู่ตัวแล้วก็จะมีการผูกขวัญ มัดข้อมือไว้ กันขวัญหนี

ถ้าหากมากล่าวถึงในแง่ของนักปฏิบัติ คนที่ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญอ่อน คือ คนที่กำลังใจน้อย ก็จะต้องให้คนที่กำลังใจเข้มแข็งกว่า มาทำพิธีผูกขวัญรับขวัญให้ เพื่อเป็นกำลังใจแก่คนที่ได้รับการผูกขวัญ เขาจะรู้สึกดีว่า ตอนนี้เป็นปกติแล้ว มีความมั่นใจกลับคืนมา สามารถที่จะทำมาหากินตามปกติได้

จริง ๆ แล้วในเรื่องของประเพณีโบราณ จะแฝงหลักธรรมทางพุทธศาสนาเอาไว้มาก หลักจิตวิทยาต่าง ๆ ก็มี เพียงแต่ว่าเราคิดถึงหรือมองเห็นหรือเปล่า ?

ยกตัวอย่าง บายศรีสู่ขวัญ ทำพิธีต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เหมือนลักษณะเชื้อเชิญ ในเมื่อเจ้าของสถานที่เชิญแล้ว บรรดาเทวดา หรือผีปู่ย่าตายายซึ่งรักษาที่ทางบ้านช่อง จะได้ไม่ขัดขวาง เขาจะได้อยู่เย็นเป็นสุข อยู่ร่วมกันกับเจ้าของสถานที่นั้น ๆ ได้"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 18-08-2010 เมื่อ 03:56
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 148 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา