ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 16-01-2018, 21:30
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,456
ได้ให้อนุโมทนา: 151,087
ได้รับอนุโมทนา 4,400,173 ครั้ง ใน 34,045 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสในอปัณณกปฏิปทา ก็คือแนวทางในการปฏิบัติที่ไม่ผิด พระองค์ท่านกล่าวว่าอปัณณกปฏิปทามี ๓ ประการ คือ ๑. อินทรียสังวร รู้จักสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ปล่อยให้สติเผลอหลุดออกไปในการดูรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส เพราะว่าระมัดระวังใจของเราเอาไว้เสมอ

พระองค์ท่านเปรียบว่า เหมือนกับเด็กชาวนาจะจับเหี้ยที่อาศัยในจอมปลวก ซึ่งมีช่องอยู่ ๖ ช่อง ก็จำเป็นที่จะต้องอุดช่องอื่นเสีย ๕ ช่อง แล้วก็เฝ้าจ้องอยู่เพียงช่องเดียว ในเมื่อเหี้ยไม่มีทางออกไปทางอื่น ท้ายสุดก็ต้องโผล่มาในช่องที่เราเปิดไว้ ก็จะโดนจับได้โดยง่าย ลักษณะเดียวกับเราที่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เอาไว้ ระมัดระวังแต่ในเรื่องใจอย่างเดียวว่า จะไม่ให้ไหลไปในอายตนะทั้ง ๕

ในเมื่อเราระวังใจอย่างเดียว ก็แปลว่าเราต้องมีสมาธิที่ตั้งมั่น ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะไม่สามารถระวังรักษาใจของเราได้ เราจะมีสมาธิมีความตั้งมั่นได้ ก็ต้องมีอานาปานสติ ก็คือสติที่ไปในลมหายใจเข้าออก ซึ่งจะสามารถสร้างได้ตั้งแต่ขณิกสมาธิ คือกำลังสมาธิที่ทรงตัวเพียงเล็กน้อย อุปจารสมาธิ กำลังสมาธิที่ทรงตัวเฉียดฌาน และอัปปนาสมาธิ สมาธิที่ทรงตัวแนบแน่นตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 17-01-2018 เมื่อ 02:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 47 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา