ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 16-01-2010, 08:11
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,592
ได้ให้อนุโมทนา: 151,759
ได้รับอนุโมทนา 4,411,958 ครั้ง ใน 34,182 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

การประเมินก็คือ ต้องไม่เข้าข้างตัวเอง ผิดก็ว่าตามผิด เพราะถ้าเข้าข้างตนเอง เราจะไม่ได้คำตอบที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ในเรื่องของสมาธินั้น เราก้าวเข้าไปสู่ระดับอัปปนาสมาธิได้อย่างใจหรือไม่ ? มีความคล่องตัวในการทรงฌานสมาบัติได้แค่ไหน ? นึกเมื่อไรได้เมื่อนั้น หรือว่ายังต้องตั้งท่า ยังต้องภาวนาเป็นระยะเวลานาน ๆ กว่าที่กำลังใจจะทรงตัว ? เราสามารถที่จะเข้าสมาธิสลับลำดับขั้นได้หรือไม่ ? หรือว่ากำลังใจของเรายังเป็นแค่อุปจารสมาธิหรืออุปจารฌานเท่านั้น ? ยังไม่เป็นอัปปนาสมาธิตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

ข้อสุดท้ายที่ต้องประเมินก็คือ เราเห็นสภาพที่แท้จริงของร่างกายเราหรือไม่ ? ว่าเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปในท่ามกลาง และสลายไปในที่สุด คือประกอบไปด้วยอนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นปกติ ไม่ว่าจะตัวเรา ตัวเขา ไม่ว่าจะเป็นหญิง เป็นชาย เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นวัตถุธาตุสิ่งของ ก็ประกอบไปด้วยความไม่เที่ยงเป็นปกติอย่างนี้

เราเห็นชัดเจนหรือไม่ ? ว่าตัวเราก็ดี บุคคลอื่นก็ดี สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ดี มีความทุกข์อยู่เป็นเจ้าเรือนเป็นปกติ เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหิว เดี๋ยวกระหาย เดี๋ยวเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้ เฆี่ยนตีเราอยู่ตลอดเวลา บีบบังคับเราอยู่ตลอดเวลา เราสามารถเห็นมันหรือไม่ ?

และท้ายสุด ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เป็นเพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประกอบ ขึ้นมาชั่วครั้งชั่วคราว สมมติว่าเป็นคนนั้นเป็นคนนี้ เป็นสัตว์ตัวนั้น เป็นสัตว์ตัวนี้ เป็นของสิ่งนั้น เป็นของสิ่งนี้ แล้วเราก็ไปยึดถือสมมติบัญญัตินั้นว่า เป็นเรา เป็นของเรา แต่แท้จริงแล้วมันเป็นแค่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประกอบขึ้นมาชั่วครั้งชั่วคราว เพื่อที่จะให้เราอาศัยอยู่ตามบุญตามกรรมเท่านั้น

ถ้าเราไม่สามารถที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ยังมีการยุยงคนอื่นให้ละเมิดศีล เห็นคนอื่นละเมิดศีลอยู่ แล้วมีความยินดี ก็ขอให้ทราบว่ากำลังใจของเรายังใช้ไม่ได้ ต้องเร่งขวนขวายให้มากกว่านี้ ในเรื่องของสมาธิ ถ้าภาวนาแล้วไม่สามารถทรงอัปปนาสมาธิ ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไประดับใดระดับหนึ่งได้ ก็เท่ากับว่า เรายังก้าวไปไม่ถึงจุดสำคัญของสมาธิ เรายังมีกำลังไม่พอที่จะต่อสู้กับกิเลส แม้กิเลสเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำอันตรายแก่เราได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 16-01-2010 เมื่อ 14:46
สมาชิก 63 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา