ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 29-10-2009, 12:44
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,614
ได้ให้อนุโมทนา: 151,817
ได้รับอนุโมทนา 4,413,188 ครั้ง ใน 34,204 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐานวันเสาร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒

กำหนดความรู้สึกทั้งหมดอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้าออกยาว ๆ สัก ๒-๓ ครั้ง แล้วหลังจากนั้นเอาความรู้สึกของเราไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา ถ้าไม่ชอบคำภาวนาให้เอาความรู้สึกอยู่กับลมหายใจแค่นี้ก็พอ หายใจเข้าจากจมูก...ผ่านกลางอก....ลงไปสู่ที่ท้อง หายใจออกจากท้อง....ผ่านกลางอก....มาสู่ที่ปลายจมูก

ตามดู...ตามรู้อยู่เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าท่านใดชอบคำภาวนา ให้ใช้คำภาวนาตามที่ตนเองชอบตามอัธยาศัย โดยเฉพาะเคยฝึกอย่างไหนมามากให้ใช้คำภาวนาอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นพุทโธ พองหนอ ยุบหนอ นะมะพะธะ สัมมาอะระหัง หรือจะใช้อิติปิโสทั้งบทก็ได้ คาถาเงินล้านก็ได้ ตามที่เราชอบและถนัด

ที่สำคัญคือ ความรู้สึกทั้งหมดให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกจริง ๆ เมื่อคิดเรื่องอื่นให้ดึงความรู้สึกกลับมาตรงนี้ทันที อย่าให้ความคิดทั้งหลายเหล่านั้นไปนานเกิน รู้สึกตัวเมื่อไหร่ก็ให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจเข้าออก ทำอย่างนี้แค่ไม่กี่ครั้งถ้ากำลังใจตั้งมั่น ความฟุ้งซ่านต่าง ๆ ก็จะลดลง ใจก็จะยอมนิ่ง ยอมอยู่กับลมหายใจเข้าออก แต่ถ้าท่านใดเพิ่งฝึกใหม่ ๆ ก็จะฟุ้งซ่านนานไปสักหน่อย ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ อย่าตำหนิตนเองว่าเราใช้การไม่ได้ ขอให้รู้ว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องผ่าน เขาเรียกว่า นิวรณ์

นิวรณ์ว่าตามรากศัพท์แล้ว หมายถึงเครื่องกั้นความดี ถ้าเกิดนิวรณ์ขึ้นเมื่อไหร่ ความดีจะไม่สามารถเข้าถึงใจของเราได้ นิวรณ์นั้นมี ๕ อย่าง ได้แก่

๑. กามฉันทะ เป็นอารมณ์ที่กระหวัดไปในเรื่องระหว่างเพศ ไม่ว่าจะมีความต้องการในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย การสัมผัสก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วตัวกามฉันทะนี้จะมุ่งไปในเรื่องระหว่างเพศทั้งหมด ถ้าหากมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้น ให้รู้ว่าใจของเราไม่มีคุณภาพ

๒. พยาปาทะนิวรณ์ คือ ตัวพยาบาท โกรธ เกลียด อาฆาต แค้นคนอื่น เวลาปกติอาจจะลืมไปแล้ว แต่ตอนทำกรรมฐานพอจิตเริ่มนิ่ง จะไปนึกถึงเรื่องที่คนอื่นทำให้เราโกรธ ทำให้เราเกลียด แล้วอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ปรุงกลับขึ้นมาใหม่ ถ้าหากมีอารมณ์ตรงนี้อยู่ให้รู้ว่าจิตของเราใช้การไม่ได้ ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสแล้ว

๓. ถีนมิทธะนิวรณ์ เป็นตัวง่วงเหงาหาวนอน ชวนให้ขี้เกียจ เวลาปรกติไม่รู้สึกง่วงเลย แต่ทันทีที่จิตเริ่มเป็นสมาธิ บางทีรู้สึกง่วงจนทนไม่ไหว บางคนก็หาวแล้วหาวอีก ให้รู้ว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งที่จะมาขวางกั้นความดีของเรา

แต่จริง ๆ แล้ว ตัวถีนมิทธะนิวรณ์ ถ้าเกิดขึ้นง่ายให้รู้ว่ากำลังใจของท่านทั้งหลายเหล่านั้นทรงความดีได้ง่ายเช่นกัน เพราะว่าถ้าไม่ถึงระดับปฐมฌานหยาบ จิตก็จะไม่ตัดหลับ ในเมื่อมันง่วงอยากจะหลับ ก็แปลว่าเราเข้าใกล้ความเป็นฌานมาก ถ้าหากว่าตัวง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้น วิธีการแก้ไขมีหลายอย่าง อย่างเช่นว่าลืมตาภาวนาแทน หรือว่ากำหนดคิดในหัวข้อธรรมที่เราชอบใจ หรือตั้งใจสวดมนต์ภาวนาคาถาบทใดบทหนึ่งที่เราชอบใจ เป็นต้น หรือมีพื้นที่มากพอก็ลุกขึ้นเดินจงกรม

แต่ถ้าเป็นตัวชวนให้ขี้เกียจ อันนั้นมันจะมีข้ออ้างสารพัดเข้ามา อย่างเช่นว่า ไม่ไหวแล้ว เราเหนื่อยมาทั้งวัน เอาไว้พรุ่งนี้เช้าค่อยทำกรรมฐาน คืนนี้ค่อยพักผ่อนให้สบายเสียก่อน ถ้าเราเชื่อและคล้อยตามลักษณะอย่างนี้ ก็แปลว่าสภาพจิตใจของเราไม่สามารถจะทรงความดีได้ โดนกิเลสยึดครองไปแทน
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 29-10-2009 เมื่อ 12:51
สมาชิก 53 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา