ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 01-04-2012, 08:14
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,451
ได้ให้อนุโมทนา: 151,086
ได้รับอนุโมทนา 4,400,000 ครั้ง ใน 34,040 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐

อบรมพระที่เกาะพระฤๅษี ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๐

ผมกลับมาค้างคืนแล้วก็ต้องไปต่อ ร่างกายนี่ก็แปลก เวลาเหนื่อยมาก ๆ แทนที่จะหลับได้ กลับไม่ค่อยจะหลับ ตื่นขึ้นมาตอนตีสอง เห็นแม่ชีเดินจงกรมกันอยู่ ก็ดีใจว่าพวกเรารู้จักขวนขวายหาความดีใส่ตัวกัน แต่ว่าให้ระมัดระวังเอาไว้สองจุด

จุดแรกก็คือว่า การเดินจงกรมนั้น เขาเอาสติกำหนดรู้ไว้เฉพาะหน้า รู้อาการเคลื่อนไหว หรือถ้าหากว่าใครสามารถทรงฌานสมาบัติได้คล่อง จะสามารถกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไปพร้อมกันด้วยก็ได้ แต่ถ้าเราเดินแล้วไปฟุ้งซ่านคิดถึงเรื่องอื่นอยู่ ก็เท่ากับได้เดินเท่านั้น

แต่ถ้าเราสามารถหยุดจิตอยู่เฉพาะหน้าได้ สติ สมาธิ อยู่ตรงหน้า รับรู้อาการเคลื่อนไหวทุกอย่างของร่างกาย สัมผัสต่าง ๆ จะชัดเจนขึ้นไปเรื่อย ชัดถึงขนาดที่ว่า เวลาลมพัดมากระทบร่างกายของเราแล้ว เส้นขนไหวกี่เส้นก็ยังรู้ได้

บางทีเดินเหยียบทรายเข้าเม็ดหนึ่ง จะรู้สึกว่าใหญ่อย่างกับก้อนกรวดเม็ดโต ๆ คือถ้าจิตละเอียด สัมผัสจะชัดขึ้น แต่ถ้าความรู้สึกไม่ได้อยู่ตรงนี้ ก็แปลว่าเราเหนื่อยฟรี

อีกจุดหนึ่งก็คือว่า กำลังของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ใครสมาธิสูงจะไม่รับรู้อาการเหน็ดเหนื่อยของร่างกาย ไปของตัวเองได้เรื่อย ข้ามวันข้ามคืนก็ไปได้ ถ้าหากว่าสมาธิต่ำหน่อยเดี๋ยวเดียวก็แย่แล้ว ถ้ายิ่งสมาธิคลายตัวออกมานี่ เหนื่อยแทบลมจะจับเลย

ฉะนั้น..ต้องระวังให้ดี เพราะในอุปกิเลส*นั้นมีอยู่ตัวหนึ่ง ที่เรียกว่า “ปัคคาหะ”** คือ ความเพียรมากเกินไป ถ้าร่างกายพักผ่อนไม่พอ จะทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ถ้าหากว่ามากขึ้น ๆ ก็จะสะสมตัวกลายเป็นความเครียด แล้วจะเกิดอาการสติแตก กรรมฐานแตก อะไรพวกนั้น

ในเมื่อกำลังของแต่ละคนไม่เท่ากัน มาตรฐานของการวัดก็ไม่มี ขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังสมาธิ ของแต่ละคน เพราะฉะนั้น..ให้ดูเรื่องของการพักผ่อนไว้ด้วย นอนสี่ทุ่มตื่นตีสองนี่ก็ถือว่าหนักแล้ว ถ้าใครรู้สึกว่าไม่ไหวก็ผ่อนลงนิดหนึ่ง ถ้าหากว่าใครไหวจะเพิ่มมากขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ว่าเรื่องการพักผ่อนต้องมี ไม่อย่างนั้นแล้วผลเสียจะเกิดขึ้นทีหลัง


หมายเหตุ :
*วิสุทฺธิ. ๓/๒๖๗
**หนึ่งในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ได้แก่ โอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐาน อุเบกขา นิกันติ


__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 02-04-2012 เมื่อ 02:43
สมาชิก 105 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา