ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 02-01-2017, 23:22
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,063 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

ส่วนในเรื่องของสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น โดยเฉพาะเห็นทุกข์เห็นโทษของร่างกายนี้ ที่เกิดมาหาความเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการเจ็บ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทุกข์ของการปรารถนาไม่สมหวัง ทุกข์ของการกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นต้น

และท้ายที่สุดก็ยังไม่สามารถยึดถือเป็นตัวเป็นตนของเราได้ ร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่สามารถยึดมั่นถือมั่นได้เหล่านี้เราไม่พึงปรารถนาอีก

เมื่อเราพินิจพิจารณาเห็นตรงนี้แล้ว ก็กระโดดไปจับตัวสุดท้าย ก็คือทำอย่างไรที่จะตัด ละอวิชชาของเราได้ ก็คือ ต้องระมัดระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา ตาเห็นรูปให้สักแต่ว่าเห็น อย่าไปยินดียินร้ายด้วย หูได้ยินเสียง จมูกได้ยิน ลิ้นได้รส กายสัมผัสใจครุ่นคิดก็เช่นเดียวกัน เพราะถ้ายินดีก็จะเป็นราคะ ยินร้ายก็จะเป็นโทสะ เป็นตัวก่อให้เกิดกิเลสใหญ่ทั้งคู่ ต้องทำใจให้เป็นกลาง ๆ ก็คืออุเบกขา ซึ่งได้แก่ สังขารุเปกขาญาณ พยายามหยุดการปรุงแต่ง

ตาเห็นรูปไม่คิดต่อ หูได้ยินเสียงไม่คิดต่อ จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจครุ่นคิดเราสามารถหยุดลงได้ กิเลสต่าง ๆ ก็เกิดไม่ได้ นิโรธ คือความดับกิเลสก็จะปรากฏขึ้นแก่เรา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 03-01-2017 เมื่อ 03:39
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 29 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา