ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 01-02-2010, 03:08
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,614
ได้ให้อนุโมทนา: 151,817
ได้รับอนุโมทนา 4,413,206 ครั้ง ใน 34,204 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๓

วันนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ถือว่าเป็นการทำกรรมฐานต้นเดือนในวันสุดท้าย ให้ทุกคนนึกถึงลมหายใจเข้าออกเป็นหลัก เพื่อสร้างความมั่นคงให้เกิดแก่จิต จะใช้คำภาวนา หรือจับภาพพระอย่างไร ขึ้นอยู่กับเราถนัด ถ้าหากท่านใดมีความคล่องตัวแล้ว บางทีแค่นึก กำลังใจก็ทรงตัวในระดับที่ตนเองต้องการได้

สำหรับท่านที่ยังไม่คล่องตัว ให้ความรู้สึกทั้งหมด ตามลมหายใจเข้าไป ตามลมหายใจออกมา หายใจเข้าผ่านจมูก..ผ่านอก..ลงไปสุดที่ท้อง พร้อมกับภาพพระและคำภาวนา หายใจออกจากท้อง..ผ่านอก..มาสุดที่ปลายจมูก พร้อมกับภาพพระและคำภาวนา ความรู้สึกทั้งหมดให้ตามลมหายใจ คำภาวนาและภาพพระเข้าไป ตามลมหายใจ คำภาวนาและภาพพระออกมา ถ้าหากว่าไปนึกถึงเรื่องอื่น คิดถึงเรื่องอื่นเมื่อไร ให้ดึงกลับมาที่ลมหายใจเข้าออกทันที

สำหรับวันนี้ก็ขอพูดต่อจากวันก่อน เกี่ยวกับโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น ในวันนี้จะเป็นส่วนที่เรียกว่าโพชฌงค์ ๗ คำว่าโพชฌงค์ คือ องค์คุณเป็นเครื่องช่วยให้ตรัสรู้ได้ มีอยู่ ๗ ประการด้วยกัน ก็ประกอบด้วยสติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา

เราก็มาแยกดูทีละตัว องค์คุณบางตัวนั้นก็ซ้ำกับหลักธรรมข้ออื่นที่ได้กล่าวมาแล้วในสองวันก่อน ตัวแรกคือ สติ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด อย่างที่เปรียบเมื่อวันก่อนว่า สติเปรียบเสมือนกับคนขับรถม้า ถ้าหากไม่มีสติ คอยรั้งให้ตรงทางอยู่ ม้าก็อาจจะพารถเตลิดเปิดเปิง ออกนอกลู่นอกทาง ตกเหวตกห้วยไปได้ กล่าวไปแล้ว สติของเรานั้น ถือว่าเป็นแก่นธรรมในพระพุทธศาสนา เพราะว่าการปฏิบัติทุกอย่างก็เพื่อสร้างสติให้มั่นคง สร้างสมาธิให้ทรงตัว ถ้าหากว่าสติ สมาธิมั่นคง ปัญญาก็จะเกิดได้ง่าย

ในส่วนของสตินั้น ตัวองค์คุณเครื่องตรัสรู้ที่กล่าวเอาไว้มาก ก็คือ ในส่วนของสติปัฏฐานทั้ง ๔ ซึ่งประกอบด้วย กายในกาย คือการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกของเรา จนกระทั่งสมาธิทรงตัวตั้งมั่น เวทนาในเวทนา คือ กำหนดรู้เท่าทันอารมณ์ใจของเรา ขณะที่กำลังเสวยอารมณ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นกลาง ๆ จิตในจิต คือ กำหนดรู้เท่าทันความคิดต่าง ๆ ของเรา ตลอดจนกำลังใจว่า ขณะนี้ทรงกำลังสมาธิอยู่ หรือไม่ได้ทรงสมาธิ ธรรมในธรรม คือกำหนดรู้เท่าทันอารมณ์ต่าง ๆ ที่เป็นธรรมารมณ์แก่ใจ เป็นต้นว่า รู้เท่าทันว่าตอนนี้นิวรณ์เกิดขึ้น แล้วพยายามแก้ไขให้หมดไป เป็นต้น
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 01-02-2010 เมื่อ 03:28
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา