ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 29-09-2010, 17:49
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,634
ได้ให้อนุโมทนา: 151,878
ได้รับอนุโมทนา 4,414,134 ครั้ง ใน 34,224 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หรือถ้าหากว่าเราไม่มีความชำนาญในการพิจารณาแบบนี้ ก็ให้พิจารณาตามนัยของวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ ก็ได้ อย่างเช่นว่า พิจารณาตามลักษณะของ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ คือ เห็นการเกิดและการดับ ทุกสิ่งมีการเกิดขึ้นในเบื้องต้นและสลายไปในที่สุดทั้งสิ้น ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นแล้วจะทรงตัวมั่นคงอยู่ได้

หรือว่าพิจารณาเห็น ความดับ ใน ภังคานุปัสสนาญาณ คือเห็นว่าทุกอย่างในที่สุดก็เสื่อมสลายไป ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่ ก้าวเข้าไปสู่ความเสื่อม สู่ความตาย สู่ความดับอยู่ตลอดเวลา

หรือดูใน ภยตูปัฏฐานญาณ การเกิดมาแล้วมีแต่ทุกข์แต่ภัย คอยตามรังควานร่างกายเราอยู่เสมอ เช่น ความเจ็บป่วย หนาวร้อน หิวกระหาย เป็นต้น

หรือว่าเราจะเห็นเป็นของที่น่าเบื่อ เป็นของที่ต้องหนีไปให้พ้น จนกระทั่งและท้ายสุดปล่อยได้วางได้ กลายเป็น สังขารุเปกขาญาณ คือ วางเฉยในสังขารร่างกายนี้ได้

เราถนัดแบบไหนให้พิจารณาแบบนั้น การพิจารณาเพื่อสร้างปัญญานั้น จำเป็นต้องใช้สัญญาก่อน ก็คือ จำได้ ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราอย่างไร ? เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม อย่างไร ? มีความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ ไม่มีอะไรเป็นตัวเราของเราอย่างไร ?

เมื่อพิจารณาทบทวน ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีกดังนี้ จนสภาพจิตยอมรับ ก็จะกลายเป็นปัญญารู้แจ้งอย่างแท้จริง ก็คือรู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง เห็นตามธรรมดาแล้วปล่อยได้วางได้

ส่วนใหญ่แล้วพวกเราเมื่อพิจารณามารู้เห็นตามสภาพความเป็นจริงแล้ว ยังมีกำลังไม่พอที่จิตใจจะยอมรับสภาพความเป็นจริงนั้น ๆ จึงต้องแบกทุกข์หาบทุกข์กันต่อไป

ถ้าเป็นดังนั้นให้ทราบว่า เรื่องของศีล เรื่องของสมาธิของท่านทั้งหลายยังอ่อนอยู่ เราต้องไปเร่งตรงศีลและสมาธิให้มากขึ้น คือทบทวนศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ พยายามรักษาได้อยู่ตลอดเวลา และบำเพ็ญสมาธิให้ทรงตัวตั้งมั่น อย่างน้อยต้องเป็นปฐมฌานขึ้นไป ถ้าได้ฌาน ๔ ยิ่งดี

แล้วเอากำลังนั้นมาพิจารณาในวิปัสสนาณาณต่าง ๆ ทวนแล้วทวนอีก ย้ำแล้วย้ำอีก ซ้ำแล้วซ้ำอีก จะเบื่อไม่ได้ หน่ายไม่ได้ จนกว่าสภาพจิตใจจะยอมรับอย่างแท้จริงว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-09-2010 เมื่อ 02:19
สมาชิก 49 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา