ดูแบบคำตอบเดียว
  #4  
เก่า 30-12-2010, 09:49
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,886 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

ธัมมวิจัยจากพระธรรมคำสอนเรื่องนี้ ขอแยกเป็นข้อ ๆ เพื่อจดจำได้ง่าย ดังนี้

๑. “อารมณ์ฟุ้งซ่านหรือฟุ้งเลว ออกนอกโอวาทปาฏิโมกข์ ๓ ข้อ คือ ให้ละกรรมชั่ว ให้ทำแต่กรรมดี ให้ทำจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ หากขัดแม้ข้อใดข้อหนึ่ง จัดเป็นฟุ้งเลวทั้งสิ้น”

๒. “การมีร่างกายหรือขันธ์ ๕ เป็นทุกข์อยู่แล้วด้วยกันทุกคน แต่โง่ไม่เห็น เช่น
  • ๒.๑ ภาราหะเว ปัญจักขันธา ภาระที่มีอยู่กับร่างกายเป็นภาระอันหนักยิ่ง มีภาระที่จะต้องเลี้ยงดูมันตลอดเวลา เหมือนคนเลี้ยงลูกอ่อน หรือคนติดคุกที่แสนจะสกปรกและไม่เที่ยง

  • ๒.๒ สัทธรรม ๕ คือ เกิดมาแล้วต้องแก่ ต้องป่วย ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบ มีความปรารถนาไม่สมหวัง และในที่สุดก็ต้องตาย ธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ล้วนแต่เป็นทุกข์

  • ๒.๓ พระธรรมท่านแสดงธรรมให้เราเห็นตลอดเวลา

    ก) เรื่องทุกข์ เพราะความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ หรือร่างกายทั้งภายนอก คือ ร่างกายคนอื่น และทั้งภายใน คือ ร่างกายตนเอง

    ข) เรื่องไตรลักษณ์ คน สัตว์ วัตถุธาตุใด ๆ ในโลกมนุษย์ แม้เทวโลกและพรหมโลก และขันธโลก (ร่างกายหรือขันธ์ ๕) ก็ตกอยู่ภายใต้กฏของไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ใครยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะในที่สุดล้วนเป็นอนัตตา หรือตาย หรือพัง หรือสลายตัวไปในที่สุด เหมือนกับจริง ๆ แล้วมันไม่มีตัวตนนั่นเอง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 26 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา