ดูแบบคำตอบเดียว
  #32  
เก่า 03-11-2009, 13:08
ฅนเมืองพริบพรี
Guest
 
ข้อความ: n/a
Default

ในวันนี้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้าพระยาเสือ)
ข้าพระองค์ขอน้อมบูชาคุณความดีที่พระองค์ท่านสร้างไว้ต่อแผ่นดินไทย และพระพุทธศาสนา

เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๔๖

มีเรื่องเล่าว่าระหว่างทรงประชวร
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรด ฯ ให้เชิญพระองค์ขึ้นเสลี่ยงเสด็จออกไปวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ (ต่อมาเรียกวัดมหาธาตุ) เพื่อนมัสการพระประธานในพระอุโบสถทรงจบพระหัตถ์อุทิศถวายพระแสงเพื่อเป็นพุทธบูชาเพื่อให้ทำเป็นราวเทียน เป็นที่มาของรูปแบบพระบวรอนุสาวรีย์หน้าวัดมหาธาตุในปัจจุบัน
ครั้งนั้นเล่ากันว่าทรงบ่นว่า "ของนี้กูอุตสาห์ทำด้วยความคิดและเรี่ยวแรงเป็นหนักหนา...ต่อไปก็จะเป็นของท่านผู้อื่น...และทรงแช่งตอนหนึ่งว่า
"...นานไปใครที่มิใช่ลูกกู ถ้ามาเป็นเจ้าของเข้าครอบครอง
ขอผีสางเทวดาจงบันดาลอย่าให้มีความสุข..."
(สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ "ตำนานวังหน้า"
ประชุมพงศาวดารภาค ๑๓ อ้างในสมโชติ อ๋องสกุล "วังหน้า:ประวัติศาสตร์เมื่อ ๒๐๐ ปี บนดินแดนธรรมศาสตร์" ๒๕๒๕)

***ตลอดพระชนม์ชีพที่ทรงรับราชการ รวมระยะเวลา ๓๕ ปี จนกระทั่งสงครามครั้งสุดท้ายกับพม่าที่เมืองล้านนา และ รวมตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ทำสงครามถึง ๒๔ ครั้ง เพื่อกอบกู้เอกราชและสร้างความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
***ความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พูดอย่างชาวบ้าน ว่า ท่านเกิดมาเพื่อรบ หรือ เกิดมาพร้อมกับดาบ แม่ทัพพม่าที่เป็นคู่รบให้สมัญญานามว่า “พระยาเสือ” ตรงกับพระนามที่ได้รับการอุปราชาภิเษก นับว่าท่านเป็นนักรบโดยแท้


สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้าพระยาเสือ)
ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวง
โปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม
เพื่อเป็นพุทธบูชาในการพระราชสงคราม
ที่พระองค์ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง ๓ ครั้ง
ทั้งในสงครามเก้าทัพ ปี ๒๓๒๘
ศึกท่าดินแดงและสามสบ ปี ๒๓๒๙
และสงครามที่นครลำปางป่าซาง ในปี ๒๓๓๐
และได้โปรดให้บรรจุ พระเนื้อดินดิบ "วัดชนะสงคราม"
ไว้ในกรุพระเจดีย์เพื่อถวายเป็นเครื่องพุทธบูชา
หลังจากที่ต้องสังเวยชีวิตผู้คนมากมายเพื่อรักษาแผ่นดินเอาไว้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ฅนเมืองพริบพรี : 03-11-2009 เมื่อ 13:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 30 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา