ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 18-11-2009, 11:22
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,511
ได้ให้อนุโมทนา: 151,404
ได้รับอนุโมทนา 4,405,957 ครั้ง ใน 34,100 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

แล้วพระองค์ท่านเปรียบเทียบกับนักปฏิบัติของเราว่า เมื่อเห็นรูป ก็คือ เพศตรงข้าม ก็ไม่มีความอดทน ไม่มีความกล้าที่จะตัด จะละ ก็เปรียบเหมือนช้างศึกประเภทที่หนึ่งที่ไม่อดทนต่อรูป ไม่สามารถจะเข้าสงครามได้

นักปฏิบัติที่ได้ยินเสียง แล้วก็ยึดติดในเสียงนั้น ก็เปรียบเหมือนช้างศึกที่ไม่อดทนต่อเสียง ไม่สามารถเข้าสู่สงครามได้

นักปฏิบัติที่ไม่อดทนต่อกลิ่น เมื่อได้กลิ่นอันเป็นที่ชอบใจ ก็ต้องไปแสวงหามาเพื่อสนองตัณหา คือความต้องการของตนเอง เปรียบเหมือนช้างศึกที่ไม่อดทนต่อกลิ่น ไม่สามารถจะเข้าสู่สงครามได้

นักปฏิบัติที่ไม่อดทนต่อรส ติดในรส เมื่อชอบใจในรสใดก็บากบั่นไปแสวงหามา ก็เปรียบเหมือนช้างศึกที่ไม่อดทนต่อรส ไม่สามารถจะเข้าสู่สงครามได้

นักปฏิบัติที่ติดในสัมผัส ไม่สามารถที่จะละได้ ต้องการแต่สัมผัสที่นุ่มนวล ที่ชอบใจของตน ก็เปรียบเหมือนช้างศึกที่ไม่อดทนต่อสัมผัส ไม่สามารถจะเข้าสู่สงครามได้

เราจะเห็นได้ว่าการศึกการสงครามนั้น บุคคลที่ไม่มีความอดทนอย่าว่าแต่ออกรบเลย อย่าว่าแต่จะรบให้ชนะเลย แม้แต่ความคิดที่จะรบ ที่จะต่อต้าน ก็ไม่มีเสียแล้ว แล้วเราเป็นนักปฏิบัติ เรื่องของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมต่าง ๆ ประเดประดังเข้ามารอบข้างเหมือนกับข้าศึก ประกอบด้วยอาวุธสารพัดชนิด ที่จะฟัน จะแทง ทำให้เราต้องลำบาก เดือดร้อน เจ็บปวด และท้ายสุดอาจจะถึงแก่ความตาย ในเมื่อความคิดที่จะรบก็ยังไม่มี แล้วเราจะเอาชนะข้าศึก คือ กิเลสได้อย่างไร

ฉะนั้นที่กล่าวเอาไว้ในตอนเช้าว่า เราต้องยอมทำตัวให้ลำบาก อย่าเห็นแก่ความสบาย ถ้ารู้ว่าปฏิบัติแล้วดี ก็ต้องสละเวลามาปฏิบัติให้ได้ ถ้าหากว่าเคยตื่นหกโมงเช้า ก็ต้องสละเวลาตื่นขึ้นมาตีห้า เพื่อที่จะได้ปฏิบัติได้ เป็นต้น ถ้าเรายอมอดทน ยอมลำบาก กิเลสเมื่อถูกทรมานมากเข้า ๆ มันก็หมดกำลัง ทำให้เราสามารถควบคุมมันได้ง่าย ไม่เช่นนั้นก็มีแต่จะถูกมันกลืนไป ถูกมันพาไปตามทิศทางที่มันชอบใจ ไม่สามารถที่จะยับยั้งตัวเองได้ ก็แปลว่าแพ้มันตั้งแต่แรก

ท่านทั้งหลายที่เป็นนักปฏิบัติ จึงควรที่จะนึกถึง เปรียบเทียบ และท้ายสุดเร่งปฏิบัติตน ให้ได้ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ คือ เราต้องเป็นช้างศึกชั้นดี ที่ออกศึกสงคราม มีความอดทนต่อรูป ต่อรส ต่อกลิ่น ต่อเสียง ต่อสัมผัสทุกประการ ไม่ยินดีเมื่อมาในด้านที่ดี ไม่ยินร้ายเมื่อมาในด้านที่ร้าย สามารถวางใจให้สงบ ไม่หวั่นไหวและเป็นกลางได้ ถ้าสามารถทำได้ดังนี้กำลังของเราก็เพียงพอ ที่จะก้าวพ้นจากความทุกข์ได้
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-11-2009 เมื่อ 12:47
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา