ดูแบบคำตอบเดียว
  #6  
เก่า 20-05-2010, 09:37
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,451
ได้ให้อนุโมทนา: 151,086
ได้รับอนุโมทนา 4,400,038 ครั้ง ใน 34,040 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

๔. มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง แปลเป็นใจความว่า รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่กินจนเกินพอดี ร่างกายของเรานั้นโดยระบบแล้ว จะต้องมีระยะเวลาในการกำจัดสิ่งที่ไม่ดีต่าง ๆ ในร่างกายของเราออกไป เพื่อทำให้ร่างกายผ่องใสกระปรี้กระเปร่า มีอายุยืนยาวได้

แต่ท่านใดเอาแต่กินอย่างเดียวเช้ายันค่ำ ร่างกายจะมีสารอาหารตกค้างอยู่เยอะมาก ท้ายสุดเมื่อไม่สามารถจะกำจัดออกไปได้ ก็ไปตกค้างอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ปวดข้อปวดเข่าบ้าง เป็นโรคโน้นโรคนี้บ้าง อย่างเช่นว่าเส้นเลือดอุดตัน อาจจะถึงแก่ชีวิตได้

การประมาณในการกินนั้น ถ้าสารอาหารในร่างกายถูกใช้หมดแล้ว ก็จะมีกายเบา เลือดลมปลอดโปร่ง จะปฏิบัติภาวนาก็สามารถเจริญสมาธิภาวนาได้ง่าย พระองค์ท่านจึงประกาศเอาไว้ชัดเจนว่า ให้รู้จักประมาณในการกิน

อย่างเช่นว่าพระภิกษุสงฆ์ก็จะฉันมื้อเดียวบ้าง สองมื้อบ้างแล้วแต่ว่าวัดไหนนิยมอย่างไร แต่มื้อที่สามไม่มี เมื่อเป็นดังนั้น ร่างกายสามารถขจัดสารตกค้างในร่างกายออกไปได้หมด ถึงเวลาร่างกายปลอดโปร่ง ก็สามารถที่จะตื่นขึ้นมาทำความดีตั้งแต่เช้ามืดได้ ลุกขึ้นมาสวดมนต์ทำวัตร นั่งกรรมฐานได้ ขณะที่ญาติโยมทั้งหลายยังเมาอาหารอยู่ไม่เลิก หลับเพลินอยู่ เป็นต้น

๕. ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง แปลว่า รู้จักอาศัยในอยู่ในที่สงบสงัด ชีวิตของเรานั้นมีแต่ความวุ่นวาย เหนื่อยยากอยู่ตลอดเวลา ญาติโยมทั้งหลายที่ได้พักผ่อน ก็พักผ่อนแต่เพียงร่างกายเท่านั้น สภาพจิตไม่ได้พักเลย เพราะวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา

ถ้าเป็นดังนี้ไปนาน ๆ ท้ายสุดท่านทั้งหลายก็จะเกิดความล้าขึ้นในชีวิต เหนื่อยจนบอกไม่ถูก เป็นความเหนื่อยชนิดที่ฝังลึกอยู่ข้างใน เป็นความเหนื่อยที่ไม่อยากจะทำอะไรต่อไปแล้ว ก็เพราะว่าท่านทั้งหลายไม่ได้เข้าถึงความสงบอย่างแท้จริง

เราพักแต่ร่างกาย ใจไม่ได้พัก ท่านทั้งหลายจึงจำเป็นต้องหาที่อันสงบสงัด ชำระจิตใจเราด้วยสมาธิ ให้สงบนิ่งจึงจะได้พักบ้าง จะได้ไม่เหนื่อยมาก ไม่อย่างนั้นแล้วจิตใจที่ไม่ได้พักก็เหน็ดเหนื่อยตลอดเวลา เมื่อไม่สามารถจะทนต่อไปได้ ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่าสติแตก หรือที่เรียกว่าบ้า เนื่องจากว่าสภาพจิตของเราไม่ได้พักอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอน

พระองค์ท่านจึงให้เราพักในที่อันสงัดคือ สงัดทั้งกาย ทั้งวาจา และทั้งใจ สงัดทางกายก็คืออยู่ในที่ห่างจากผู้คน สงัดในทางวาจาก็คือ เว้นจากการกล่าวในสิ่งที่ไม่ดี ในเมื่อไม่พูดในสิ่งที่ไม่ดี เราก็ต้องไม่คิดในสิ่งที่ไม่ดีด้วย ก็สงัดทางวาจาด้วย สงัดทางใจด้วย และความสงัดทางใจที่แท้จริงนั้นก็คือ เราทั้งหลายได้บำเพ็ญสมาธิภาวนา ชำระจิตใจของตนให้ผ่องใสนั่นเอง
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 20-05-2010 เมื่อ 20:12
สมาชิก 48 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา