ชื่อกระทู้: ช่างสิบหมู่
ดูแบบคำตอบเดียว
  #2  
เก่า 23-03-2009, 20:20
วาโยรัตนะ วาโยรัตนะ is offline
สมาชิก VIP - ผู้ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 550
ได้ให้อนุโมทนา: 13,972
ได้รับอนุโมทนา 45,909 ครั้ง ใน 953 โพสต์
วาโยรัตนะ is on a distinguished road
Default

ช่างเขียน
ช่างเขียน คือบุคคลที่มีฝีมือและความสามารถกระทำการช่างในทางวาดเขียนและระบายสีให้เกิดเป็นลวดลาย หรือรูปภาพต่าง ๆ ได้อย่างงดงามเป็นที่พิศวงและเป็นสิ่งน่าพึงตาพอใจแก่ผู้ได้พบเห็น

ช่างเขียนแต่โบราณ หรือแต่ละพื้นถิ่นสยามประเทศได้มีคำเรียกต่างกันออกไป อาทิ ช่างแต้ม ช่างเขียนสี น้ำกาว ช่างเขียนลายรดน้ำ เป็นต้น
ในบรรดาช่างประเภทต่าง ๆ ในหมวดช่างสิบหมู่ด้วยกัน ช่างเขียนจัดว่าเป็นช่างที่มีความสำคัญยิ่งกว่าช่างหมู่ใด ๆ ทั้งนี้เนื่องจากการวาดเขียนและการเขียนระบายสีเป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นสื่อที่มีศักยภาพยิ่งสำหรับถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ออกมาให้ปรากฏในลักษณะรูปธรรมที่ชัดเจน สามารถใช้เป็นต้นแบบนำไปสร้างสิ่งต่าง ๆ ได้ต้องตามความประสงค์หรือเป็นต้นแบบที่มีความสำเร็จและมีคุณค่าเฉพาะในตัวชิ้นงานนั้นโดยตรง ดังมีหลักฐาน เป็นที่ปรากฏโดยสำนวนภาษาในหมู่ช่างไทยแต่ก่อนพูดติดปากต่อ ๆ กันมาว่า

"ช่างกลึงพึ่งช่างชัก ช่างสลักแบบอย่างพึ่งช่างเขียน ช่างติและช่างเตียน ดันตะบึงไม่พึ่งใคร"

อนึ่ง ช่างเขียนหรือสาระสำคัญของวิชาช่างเขียน ยังได้รับความนับถือว่าเป็นหลักใหญ่ที่มีความสำคัญกว่า วิชาการช่างศิลปแบบไทยประเพณีทั้งหลายดังจะเห็นได้ว่า ในโอกาสที่ประกอบการพิธีไหว้ครูช่างประจำปี และมี การรับผู้เข้ามามอบตัวเป็นศิษย์ใหม่ในสำนักช่างนั้น ๆ บุคคลผู้เป็นครูช่าง หัวหน้าสำนักช่าง หรือเจ้าพิธีไหว้ครูจะทำการ "ครอบ" หรือ "ประสิทธิประสาธน์" ให้ผู้ที่เข้าเป็นศิษย์ใหม่ให้เป็นผู้ได้รับวิชาและการฝึกหัดเป็นช่างต่อไปได้ ทำการ "ครอบ" แก่ศิษย์ใหม่เป็นปฐมก็คือวิชาช่างเขียน โดยผู้ครอบจับมือศิษย์ใหม่ให้เขียนลายหรือรูปภาพตามรอยเส้นลายมือของครูเป็นประเดิม
งานของช่างเขียน ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งในงานช่างสิบหมู่นั้น มีงานด้านการเขียนวาด เขียนระบายสี และเขียนน้ำยาชนิดต่าง ๆ อยู่หลายอย่างหลายชนิดที่นำมาลำดับสาระและอธิบายให้ทราบได้ ดังต่อไปนี้

งานเขียนระบายสีน้ำกาว

งานเขียนระบายสีน้ำกาว คือ งานเขียนระบายรูปภาพต่าง ๆ ด้วยสีฝุ่นสีต่าง ๆ ผสมกับน้ำกาวหรือยางไม้บาง ชนิดเพื่อให้สีจับติดพื้ที่ใช้รองรับสีนั้นอยู่ทนได้นาน ช่างเขียนรูปภาพแบบไทยประเพณีแต่กาลก่อนจึงเรียกว่า งานเขียนระบายสีน้ำกาว และเรียกรูปภาพหรือลวดลายซึ่งเขียนด้วยวิธีการเช่นนี้ว่า ภาพหรือลายสีน้ำกาว
อนึ่ง งานเขียนรูปภาพตามวิธีที่อ้างมานี้ ในชั้นหลังได้มีผู้เรียกว่าภาพเขียนสีฝุ่น ก็มี ทั้งนี้เนื่องมาแต่ "สี" ต่าง ๆ ที่ช่างเขียนภาพแบบไทยประเพณีใช้เขียนระบายรูปภาพนั้น ลักษณะเป็นผงหรือเป็นฝุ่น ก่อนที่จะนำมาผสมกับน้ำ กาวหรือยางไม้บางชนิดให้มีคุณสมบัติพร้อมใช้เขียนระบายรูปภาพ สีต่าง ๆ เหล่านี้ได้จากวัสดุที่เป็นสีต่างชนิดต่าง ประเภท คือ
สีประเภทที่ได้จากดิน ได้แก่ สีดินขาว สีดินเหลือง สีดินแดง
สีประเภทที่ได้จากพืช ได้แก่ สีเหลืองจากยางของต้นรง สีครามได้จากต้นคราม สีแดงชาดได้จากต้นชาด หรคุณ สีแดงจากเมล็ดในลูกคำเงาะ
สีประเภทที่ได้จากสัตว์ ได้แก่ สีดำจากถ่านงาช้าง
สีประเภทที่ได้จากสารประกอบ ได้แก่ สีขาวฝุ่นได้จากสารประกอบสังกะสี สีเขียวได้จากสารประกอบทอง แดง สีแดงแสดได้จากสารประกอบตะกั่ว สีแต่ละประเภทตามกล่าวนี้ ได้รับการเตรียมด้วยการป่นให้เป็นฝุ่นมีคุณลักษณะเป็นสี แต่ไม่มีคุณสมบัติในการจับติดพื้นที่จะใช้รองรับการเขียนระบาย ดังนี้สีแต่ละสีจึงต้องการสิ่งช่วยประสานสีให้จับติดพื้นที่ต้องการเขียนระบายนั้น สิ่งที่ว่านี้คือ กาวและยางไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ช่างเขียนรูปภาพแบบไทยประเพณีแต่สมัยโบราณนิยม ใช้ยางไม้ที่เก็บจากต้นมะขวิด นำมาละลายในน้ำร้อนให้เป็นน้ำยางเหลวและใสใช้ผสมสีฝุ่นสำหรับเขียนระบายรูป ภาพและลวดลาย สมัยหลังช่างเขียนเปลี่ยนไปนิยมใช้กาวชนิดหนึ่งเรียกว่า "กาวกระถิน" แทน เนื่องจากสามารถหาซื้อได้ง่ายกว่ากาวหรือยางไม้ ซึ่งช่างเขียนได้ใช้ผสมกับสีฝุ่นเพื่อใช้ระบายรูปภาพหรือลวดลาย บางทีเรียกว่า "น้ำยา"
งานเขียนรูปภาพแบบไทยประเพณี มีคตินิยมที่สำคัญประการหนึ่ง คือ นิยมใช้ทองคำเปลวปิดประกอบร่วมกับการเขียน เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญหรือแสดงคุณค่าขององค์ประกอบของรูปภาพหรือลวดลายตามความประสงค์ของช่างเขียน ซึ่งช่างเขียนได้ใช้ยางไม้ชนิดหนึ่ง คือ ยางสดที่กรีดและเก็บมาจากต้นมะเดื่อชุมพร ลักษณะเป็นน้ำยางสีขาว เหนียวพอสมควรใช้ทาลงบนพื้นบริเวณที่ต้องการจะปิดทองคำเปลวแต่เพียงบาง ๆ ผึ่งทิ้งไว้ให้ยางหมาดพอสมควร จึงปิดทองคำเปลวติดเข้ากับบริเวณที่ทายางไว้ ทองคำเปลวจะติดแนบกับพื้นถาวร
ในการปฏิบัติงานเขียนระบายรูปภาพ ข่างเขียนแต่กาลก่อนต้องเตรียมการจัดหาวัสดุ เตรียมทำเครื่องมือ สำหรับเขียนระบายรูปภาพด้วยตนเองทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องด้วยไม่มีที่จะหาซื้อสี น้ำยา เครื่องมือ ฯลฯ ได้ง่ายดังเช่นในปัจจุบัน ช่างเขียนแต่ก่อนต้องเรียนรู้และฝึกหัดทำพู่กันด้วยขนหูวัว ทำแปรงสำหรับระบายสีขึ้นจากเปลือกต้นกระดัง งาและรากของต้นลำเจียก เป็นต้น และยังได้ใช้กะลามะพร้าวซีกที่เรียกว่า "กะลาตัวเมีย" คือกะลาซีกที่ไม่มีรู นำมาใส่สีแต่ละสีและผสมน้ำยาไว้พร้อมที่จะเขียนระบายรูปภาพ
งานเขียนระบายรูปภาพด้วยสีน้ำกาวหรือสีฝุ่นอาจทำลงบนพื้นได้หลายชนิดด้วยกัน คือพื้นฝาผนังถือปูนบน โครงสร้างก่อด้วยอิฐ พื้นผนังที่เป็นไม้ พื้นชนิดผ้า และพื้นชนิดกระดาษ
งานของช่างเขียนในขั้นปฏิบัติการเขียนระบายสีทำเป็นรูปภาพแบบไทยประเพณี ที่ได้ถือเป็นแบบแผนกันอยู่ ในหมู่ช่างเขียนมาแต่กาลก่อนอาจลำดับการปฏิบัติการเขียนระบายสีเป็นขั้นตอนต่อไปนี้

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย วาโยรัตนะ : 09-04-2009 เมื่อ 08:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 12 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ วาโยรัตนะ ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา