ดูแบบคำตอบเดียว
  #29  
เก่า 11-01-2016, 12:28
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,371
ได้ให้อนุโมทนา: 150,708
ได้รับอนุโมทนา 4,397,034 ครั้ง ใน 33,960 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

พระอาจารย์กล่าวว่า "ความเจ็บไข้ได้ป่วยสำหรับนักปฏิบัติแล้วถือเป็นกำไรใหญ่ อันดับแรก...ได้เห็นว่าร่างกายนี้ไม่ดีจริง ๆ อันดับที่สอง...การประคับประคองร่างกายตัวเองต้องใช้กำลังของสติ สมาธิมากกว่าปกติ ในลักษณะอย่างนั้นกิเลสจะกินใจของเราไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเห็นความตายมาอยู่ตรงหน้า อาการเจ็บไข้ได้ป่วยหนักอย่างนี้ไม่ทราบว่าจะรอดหรือเปล่า ? ถ้าท่านที่ทำได้ก็จะส่งใจไปเกาะพระหรือเกาะพระนิพพานไว้ก่อน เป็นการประกันความเสี่ยง แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรม บางทีก็โอดครวญอยู่กับความเจ็บป่วยนั้น

ถ้าเป็นนักปฏิบัติที่ปฏิบัติไปได้ระยะหนึ่ง บางทีไม่รู้ว่าตัวเองทำไปแล้ว ผลในการปฏิบัติมีมากน้อยเท่าไร ตอนเจ็บไข้ได้ป่วยหนัก ๆ จะรู้ว่าต้นทุนของเรามีเพียงพอหรือไม่ เพราะกำลังที่เราปฏิบัติได้ทั้งหมดจะมารวมตัวกัน แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตอนนั้นเรามีกำลังเท่าไร ถ้าใครเป็นแล้วกำลังใจไม่เกาะร่างกาย ปล่อยวางได้เป็นปกติ รักษาไปตามหน้าที่...หายก็หาย ถ้าไม่หาย...จะตายก็เชิญตามสบาย ถ้าไม่มีความหวั่นไหว ปล่อยวางได้ขนาดนั้น โอกาสที่จะไปพระนิพพานก็มีสูง จึงสามารถวัดผลการปฏิบัติของตนเองได้ด้วย"
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 11-01-2016 เมื่อ 13:28
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 221 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา