ดูแบบคำตอบเดียว
  #1  
เก่า 15-12-2019, 22:56
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,500
ได้ให้อนุโมทนา: 151,165
ได้รับอนุโมทนา 4,405,658 ครั้ง ใน 34,089 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน วันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๒

ให้ทุกคนตั้งกายให้ตรง กำหนดสติคือความรู้สึกของเราไว้ที่ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้า..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป หายใจออก..ให้ความรู้สึกทั้งหมดของเรา ไหลตามลมหายใจออกมา จะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่เรามีความถนัด มีความชำนาญมาแต่เดิม

วันนี้เป็นวันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ต้องบอกว่าเนื่องจากพ้นผ่านวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งพวกเราชินกับคำว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๙ มากกว่า ในช่วงวันคล้ายวันพระราชสมภพก็มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งราชการ เอกชน ตลอดจนวัดวาอาราม จัดงานบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน

สำหรับในหลวงรัชกาลที่ ๙ นั้น อาตมาเคยกล่าวไปแล้วว่า พระองค์ท่านนำเอาหลักธรรมมาใช้ มาสั่งสอนต่อพวกเราโดยที่ไม่มีวี่แววของภาษาบาลีอยู่เลย ดังที่พระองค์ท่านได้ตรัสว่า ในเรื่องของการทำความดีนั้น แม้ว่าจะทำได้ยาก...แต่ก็ต้องทำ ไม่เช่นนั้นแล้วความชั่วที่ทำได้ง่ายกว่าก็จะเข้ามาท่วมทับเรา ซึ่งตรงจุดนี้อยากให้ทุกท่านเปรียบเทียบกับตนเองว่า เราเองนั้นได้มีความเพียรพยายามในการต่อสู้เพื่อกระทำความดีเท่าไร ? สมควรแก่คำว่านักปฏิบัติแล้วหรือไม่ ?

อย่างเช่นญาติโยมบางท่านบอกว่า สู้กับกิเลสแล้วไม่เห็นทางชนะ จนกระทั่งจะหมดกำลังใจอยู่แล้ว พอถึงเวลาต้นเดือนได้เห็นหน้าหลวงพ่อทีหนึ่งก็มีกำลังใจขึ้นมาทีหนึ่ง ซึ่งถ้าว่ากันตามความเป็นจริงแล้วก็คือ เราตกเป็นทาสของกิเลส และเป็นกิเลสหยาบมาก ก็คือถีนมิทธะนิวรณ์ ซึ่งชวนให้ง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจปฏิบัติ ซึ่งนั่นเป็นกิเลสที่หยาบที่สุด เห็นหน้าตาได้ง่ายที่สุด

และถ้าหากว่าเราคล้อยตามไป โดยการที่ถึงเวลาขี้เกียจขึ้นมาก็นอน แต่มีความขยันในการไปทำสิ่งอื่นที่ไม่เป็นโล้เป็นพายสำหรับนักปฏิบัติ อย่างเช่นว่าไปส่อง Facebook ไปคุย LINE

เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ถ้าหากว่าเราไปทำ พอครั้งต่อไปกิเลสจะชวนให้เราทำอีก โดยมีข้ออ้างว่าคราวที่แล้วยังทำเลย แล้วเราก็จะคล้อยตามไปเรื่อย ๆ ท้ายสุดความชั่วก็จะท่วมทับความดีจนความดีโงหัวไม่ขึ้น กลายเป็นทาสของกิเลสไปโดยปริยาย

ซึ่งลักษณะอย่างนี้จัดเป็นอบายมุข คือปากทางแห่งความเสื่อมอย่างหนึ่ง ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นความเกียจคร้านไม่ทำการงาน ที่ไม่ใช่การงานในหน้าที่ เป็นการงานที่สำคัญกว่านั้น คืองานชำระจิตใจของตนให้ผ่องใสจากกิเลส
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เถรี : 26-12-2019 เมื่อ 08:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 28 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา