ดูแบบคำตอบเดียว
  #3  
เก่า 20-03-2013, 20:58
เถรี's Avatar
เถรี เถรี is offline
ผู้ดูแลเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: Jan 2009
ข้อความ: 30,586
ได้ให้อนุโมทนา: 151,727
ได้รับอนุโมทนา 4,411,719 ครั้ง ใน 34,176 โพสต์
เถรี is on a distinguished road
Default

หรือท่านทั้งหลายอาจจะใช้พรหมวิหาร ๔ ก็ได้ แม้กระทั่งตัวของอาตมาเอง ที่ฝึกซ้อมอสุภกรรมฐานมามาก แต่เมื่อถึงวาระจริง ๆ ก็เกิดอาการที่เรียกว่า "เอาไม่อยู่" แต่โชคดีว่าพรรษานั้นได้ศึกษานักธรรมชั้นโท เรียนเกี่ยวกับอนุพุทธประวัติ เมื่อไปถึงประวัติของพระรัฐบาลเถระ พระเจ้าอุเทนได้ถามพระรัฐบาลเถระว่า "ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นคนหนุ่ม ย่อมมากด้วยกามราคะ เหตุใดจึงตั้งอยู่ในพรหมจรรย์ได้ ?"

พระรัฐบาลเถระกราบทูลว่า "ดูก่อนมหาบพิตร...ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาดังนี้ คือพิจารณาว่า

มาตุคามนี้สมควรตั้งไว้ในที่แห่งมารดา ก็ตั้งไว้ในที่แห่งมารดา

มาตุคามนี้สมควรตั้งไว้ในที่แห่งพี่สาว ก็ตั้งไว้ในที่แห่งพี่สาว

มาตุคามนี้สมควรตั้งในที่แห่งน้องสาว ก็ตั้งไว้ในที่แห่งน้องสาว

มาตุคามนี้สมควรตั้งไว้ในที่แห่งลูกสาว ก็ตั้งไว้ในที่แห่งลูกสาว

ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาดังนี้ จึงทรงพรหมจรรย์อยู่ได้"

เมื่อศึกษามาถึงตรงนี้ ก็เกิดความเข้าใจเลยว่า นี่เป็นตัวพรหมวิหาร ๔ คือ รักเขาเสมอกับคนในครอบครัวของเรา เมื่อเห็นเขาเป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง เป็นลูก ก็ย่อมเกิดความเมตตา กรุณา ไม่เกิดอารมณ์กามราคะขึ้น

ดังนั้น..เราจะเห็นว่าในสัพพัตถกกัมมัฏฐาน คือกรรมฐานที่ประกอบไปด้วยประโยชน์หลายประการ ที่โบราณาจารย์กำหนดไว้ว่า ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องศึกษาไว้ ดังที่กล่าวมาข้างต้นคือ อานาปานสติกรรมฐาน กายคตานุสติกรรมฐาน อสุภกรรมฐาน และพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นสิ่งที่สามารถช่วยในการระงับยับยั้งในเรื่องของการปรารถนาในคู่ครอง ในที่นี้ที่กล่าวถึงก็คือ บุคคลที่หวังความหลุดพ้นจริง ๆ ต้องไปตัวคนเดียว เพื่อจะได้ไม่มีห่วงไม่มีกังวล

เมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าเกิดความปรารถนาในคู่ครองขึ้นมา ก็ต้องใช้กรรมฐานเหล่านี้เป็นคู่ศึก เพื่อที่จะใช้ต่อต้าน และดึงตนเองให้ก้าวพ้นออกมาจากทุกข์นั้นได้ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายที่ประสบกับปัญหาในเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ นำกองกรรมฐานทั้งหลายเหล่านี้ไปพิจารณา ว่าปัจจุบันนี้เราเหมาะสมกับกรรมฐานกองใด แล้วก็ปฏิบัติในกรรมฐานกองนั้นให้เต็มที่ ก็สามารถจะระงับยับยั้งกำลังใจของตน ไม่ให้ไหลตามกระแสโลกไปได้ และเมื่อสติ สมาธิ ปัญญาแก่กล้าขึ้นมา เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ยกจิตของตนออกจากร่างกาย ไม่ปรารถนาทั้งร่างกายตนเองและคนอื่น เราก็จะสามารถหลุดพ้น เข้าสู่พระนิพพานได้เช่นกัน

อันดับต่อไปขอให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา


พระครูวิลาศกาญจนธรรม
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
วันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖
(ถอดจากเสียงเป็นอักษรโดยทาริกาและเถรี)
__________________
........................

เกิดมาทั้งที เอาดีให้ได้ ตายไปทั้งที ฝากดีเอาไว้ อยู่ให้เขาเกรงใจ ไปให้เขาคิดถึง

จะเช มัตตา สุขังธีโร ปัญญาชน พึงสละสุขส่วนตน เพื่อสุขยิ่งใหญ่ของส่วนรวม

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 30-03-2013 เมื่อ 02:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 56 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ เถรี ในข้อความที่เขียนด้านบน
แสดง/ซ่อน รายชื่อผู้อนุโมทนา