ดูแบบคำตอบเดียว
  #598  
เก่า 22-08-2020, 21:15
ลัก...ยิ้ม ลัก...ยิ้ม is offline
ทีมงานเว็บ - ยืนยันตัวตนแล้ว
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 3,361
ได้ให้อนุโมทนา: 23,340
ได้รับอนุโมทนา 187,886 ครั้ง ใน 5,403 โพสต์
ลัก...ยิ้ม is on a distinguished road
Default

พระธรรมวินัย
“... เราที่ได้บวชมาในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ที่มีหน้าที่การงานซึ่งจะทำได้โดยสมบูรณ์ ไม่มีอะไรขัดข้องยุ่งเหยิงเหมือนฆราวาสเขา เป็นโอกาสที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการที่จะบำเพ็ญตนให้ถูกต้องดีงามโดยลำดับ จนถึงจุดหมายปลายทางตามทางของพระศาสดา ที่ทรงสั่งสอนไว้แล้วทุกแง่ทุกมุม ... ถ้าไม่ปล่อยให้ความขี้เกียจขี้คร้านอันเป็นเรื่องของกิเลส ความท้อถอยอ่อนแออันเป็นเรื่องของกิเลสเข้ามาทำงานเสีย

พระวินัยก็ดี พระธรรมก็ดี เป็นทั้งทางเดิน ทั้งรั้ว..กั้นไม่ให้ปลีกแวะ เช่นพระวินัยเป็นรั้วกั้นสองฟากทางไว้ ธรรมเป็นทางสายกลาง เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา พระวินัยเป็นรั้วกั้นไว้ทั้งสองฟากไม่ให้ข้าม หรือปลีกแวะออกไป ปีนรั้วปีนราวคือหลักธรรมวินัย อันเป็นสวากขาตธรรมด้วยกันทั้งนั้น การทำรั้วไว้ด้วยศีลก็คือ การปิดกั้นทางที่จะผิดเป็นโทษเป็นภัยแก่ผู้เดินทางนั้น ไม่ให้ปืนออกไปสู่ภัยสู่อันตรายทั้งหลายอันจะนำมาซึ่งโทษ และดำเนินตามสายกลางคือมัชฌิมาเป็นลำดับลำดา ไม่ปลีกแวะจากหลักมัชฌิมานี้ด้วยความอุตส่าห์พยายาม ไม่ลดละท้อถอย.. อย่างไรต้องถึงจุดที่หมายปลายทางโดยไม่ต้องสงสัย

คำว่าพระวินัยก็พอทราบกัน คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ เหล่านี้เป็นหลักพระวินัยทั้งนั้น ส่วนพระธรรมมีมากและละเอียดไปเป็นขั้น ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เช่น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นต้น จัดเป็นหมวดธรรม พระวินัยเป็นของจำเป็นตามขั้นและเพศของผู้รักษา ... ไม่อาจเอื้อมล่วงเกิน ใจก็มีความเยือกเย็น ไม่เป็นอารมณ์เพราะเหตุแห่งความผิดศีลที่ตนรักษา จะอบรมใจให้สงบ เย็นใจ ผิวพรรณก็ผ่องใส และมีกิริยาองอาจ ไม่สะทกสะท้าน นี่เป็นศีลสมบัติที่เราได้รับในปัจจุบัน

ต่อไปก็เริ่มให้เป็นสมบัติขึ้นภายในใจ โดยวิธีอบรมจิต เช่น นั่งกำหนดอานาปานุสติ ถือลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ของใจ หรือพุทโธ ธัมโม สังโฆ บทใดบทหนึ่งที่จริตชอบ มีสติกำกับอยู่ที่ใจซึ่งบริกรรมธรรมบทนั้น ๆ เป็นอารมณ์อยู่.. ใจจะค่อยมีความรู้เด่นขึ้นที่จุดนั้น และมีความเย็นสบาย ความสุขที่เกิดขึ้นจากความสงบ จะไม่เหมือนความสุขอื่นใดที่เคยผ่านมา ผู้ได้รับความสุขประเภทนี้แล้ว จะเป็นที่สะดุดใจทันที พร้อมทั้งความพอใจที่จะพยายามให้ความสงบสุขนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ...

ความสงบของใจมีหลายขั้น คือขั้นหยาบ ขั้นกลาง และขั้นละเอียด ตามแต่ผู้บำเพ็ญจะสามารถทำได้เป็นขั้น ๆ และพยายามทำจิตของตนให้ขยับขึ้นไปเป็นระยะ จนถึงขั้นละเอียดสุดของสมาธิ ส่วนความสุขอันเป็นผลย่อมมีความละเอียดขึ้นไปตามขั้นของสมาธิ ปัญญาก็มีขั้นหยาบ ขั้นกลาง และขั้นละเอียดเช่นเดียวกับสมาธิ และควรนำมาใช้กำกับสมาธิขั้นนั้น ๆ ได้ตามโอกาสอันควร จนเป็นความรอบคอบของนักปฏิบัติธรรมทุก ๆ ขั้นไป ...

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สุธรรม : 23-08-2020 เมื่อ 03:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
สมาชิก 9 คน ได้กล่าว "อนุโมทนา" กับคุณ ลัก...ยิ้ม ในข้อความที่เขียนด้านบน
พี่เสือ (24-09-2020), ภาวนามัย (25-04-2024), สุธรรม (23-08-2020)